การออกแบบจะทำให้ความพิการหายไป

ภาพ ทางเดินเข้าอาคารมีพื้นต่างระดับความสูงไม่เกิน 2 นิ้ว

ออกตัวก่อนว่า ผมไม่ใช่นักออกแบบ มีฐานะเป็นผู้ใช้และเป็นคนที่ผจญกับปัญหามาตลอด วันนี้อยากเขียนถึงสิ่งที่ตัวเองพูดบ่อยๆ

ยกตัวอย่างด้วยภาพนี้ เป็นทางเดินเข้าอาคารมีการยกระดับพื้นสูงไม่เกิน 2นิ้ว เพื่อแบ่งเขตด้านนอกและด้านใน, เรียกได้ว่าเป็นเรื่องปกติ ที่เราเห็นแบบนี้เสมอๆ แทบทุกที่ แต่สำหรับผม มองเห็นว่า “นี่เป็นการออกแบบที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคมมาก”

ในฐานะเป็นคนที่ใช้รถเข็นที่มีร่างกายที่แข็งแรงพอสมควร พื้นยกระดับสูงเท่านี้ไม่เป็นปัญหา
แต่ให้สังเกตุว่า พื้นส่วนที่ไม่ได้ทำทางลาดต้องแปะสติกเกอร์สีเหลืองเพื่อ “เตือน” ให้คนระมัดระวัง…

เอาล่ะเรามามองมุมบวกกันซักหน่อย
สมมุติ ถ้าจุดนี้ออกแบบใหม่ ปรับให้เป็นทางลาดตลอดทั้งหน้า 100% แล้วใช้สีต่างเพื่อแบ่งเขตแดนอาคารแทน, คราวนี้เรามาลองนึกถึงเวลาคนเดินผ่านไปผ่านมา เกิดอะไรขึ้นบ้าง…

– ทุกคน ทุกสภาพร่างกาย เดินผ่านเข้าออกอาคาร จากมุมไหนก็ได้ตามใจฉัน ไม่แปลกแยก
– ทุกคน เกิดความปลอดภัยมากกว่า แม้เวลาเผลอ ใช้มือถือเพลิน ก็ไม่สะดุด ไม่ต้องระวัง ไม่ต้องแปะสติ๊กเกอร์เตือน ไม่เกิดอุบัติเหตุ
– วันนี้คุณอาจจะไม่ได้เดือดร้อนกับไอ้พื้นต่างระดับแค่นี้ แต่พรุ่งนี้คุณอาจจะทำได้แค่นั่งมองทำตาปริบๆ ก็เป็นได้ครับ

ผมกำลังพูดถึง Inclusive Design ครับ หมายถึง “การออกแบบที่คำนึงถึงคนทุกกลุ่ม”
การออกแบบที่จะทำให้ความแตกต่างทางกายภาพคนหายไป, ทุกคน ทุกสภาพร่างกายสัญจรผ่านไป ผ่านมาได้ สะดวก ปลอดภัย ไร้ข้อจำกัด

ช่วยกันนะครับ สร้างโลกใหม่กัน ไม่ทำวันนี้วันพรุ่งนี้เหมือนเดิมครับ!

https://www.accessibilityisfreedom.org/บรรยายพิเศษ/

#InclusiveDesign

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]