SabaLive ทดสอบเดินทาง รถไฟฟ้า ARL – MRT สายสีน้ำเงิน – สายสีม่วง ครั้งแรกหลังเชื่อมต่อ

หลังจากที่ MRT สายสีน้ำเงินทำการเชื่อมต่อกับ MRT สายสีม่วงเสร็จ
เราก็ได้โอกาสทดสอบการเดินทางโดยเดินทาง
จาก ARL ฝั่งสุวรรณภูมิ > ARL มักกะสัน > MRT เพชรบุรี > MRT เตาปูน > เปลี่ยนสาย MRT สีม่วง >  MRT สีม่วง สถานีตลาดบางใหญ่

พบการเดินทางราบรื่นดีครับ แต่ยังมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงตามนี้ครับ

  1. ARL ลิฟท์เสียยังไม่ซ่อม
    พบที่สถานีหัวหมาก เสียมาเกิน 1 เดือนแล้ว / ลิฟท์เพิ่งเปิดใช้ได้ไม่นาน
    สัญญาการดูและและรับประกันควรต้องเข้มข้น ฝาก ผบห ที่เกี่ยวข้องติดตามด้วยครับ
    .
  2. ARL ตู้โดยสาร ไม่มีจุด priority
    ทำให้การเดินทางขณะช่วงเวลาเร่งด่วนยุ่งยากมาก เพราะเมื่อไม่มีจุดให้หลบ
    รถเข็นก็จะเกะกะ ขวางทางเข้าออกของผู้โดยสารท่านอื่นๆ
    ข้อแนะนำ: ข้อกำหนดนี้มีชัดเจนในกฏกระทรวง และจำเป็นต้องทำ
    เชื่อว่าช่างสามารถแก้ไขตู้โดยสารให้มีพื้นที่ priority ได้ไม่ยากครับ
    (เห็นมีเครื่องหมาย wheelchair แปะที่ตู้รถด้านนอก/ขบวน express – ครั้งหน้าตรวจสอบเพิ่ม)
    .
  3. MRT สายสีน้ำเงิน / สถานีเพชรบุรี ทางเดินช่องลับ ‘ไม่ปลอดภัย’
    มีการก่อสร้าง ทำร้านค้า ทางเดินที่คนพิเศษต้องเดินผ่านเพื่อไปใช้ลิฟท์
    พบว่าตามพื้นจะมีน๊อต สกรู และตะปูหล่นเต็มพื้นไปหมด
    ข้อแนะนำ:แจ้ง รปภ ให้แจ้ง หัวหน้าไปแล้ว ให้ใช้เทปตีเส้นเป็นทางเดิน และทุกวันให้ผู้รับเหมาดูแลพื้นที่ให้เรียบร้อย
    .
  4. MRT สายสีน้ำเงิน / มีลิฟท์ไม่ครบ / และอยู่ไกล
    เช่น สถานีเพชรบุรี ลิฟท์จากชั้นร้านค้า > ชั้นจำหน่ายตั๋ว คนพิการต้องเข็นรถข้ามฝั่งสถานีเพื่อไปใช้ลิฟท์
    ข้อแนะนำ: การออกแบบสถานี หากเป็นสถานีที่มีความยาว ยาวมากให้ดีที่สุดต้องมีลิฟท์รองรับให้มากที่สุด
    (คนทั่วไปบันไดเลื่อนอยู่ไกลหน่อย ไม่กี่สิบก้าวยังบ่นเลยครับ แต่คนพิการต้องเข็นรถข้ามฝั่งสถานีไป-มาตลอดเวลา)
    หากเป็นสถานีที่มีความยาวไม่มาก ให้จัดลิฟท์ไว้กลางสถานี
    .
  5. MRT สายสีม่วง / ชานชาลายังไม่มี marker เครื่องหมาย wheelchair บนพื้น
    เพื่อให้คนพิการได้ไปหยุดรอในจุดที่ถูกต้องได้ ไม่เช่นนั้นเมื่อรถจอดจะไม่มีเวลาย้ายตำแหน่ง
    ข้อแนะนำ: ทำเครื่องหมายทำงานนิดเดียวครับ sticker แปะพื้นได้เลยสบายๆ
    เครื่องหมาย ขอให้ดูมาตรฐานสิงคโปร์ ตัวอย่างที่โพสนี้ ครับ
    .
  6. MRT สายสีม่วง / จนท ณ วันที่ ไปทดสอบ สถานีเตาปูน ไม่ทราบว่า คนพิการต้องขึ้นตำแหน่งไหน
    ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาที่พนักงาน ควรแก้ที่ระดับนโยบายและการบริหาร
    ต้องไม่ปล่อยให้มีพนักงานที่ไม่ผ่านการอบรม มาทำงานครับ (ทุกระบบมีปัญหานี้ และควรปรับปรุงโดยด่วน)
    ข้อแนะนำ: การอบรมที่เข้มข้นและตรวจสอบ ทดสอบ อย่างต่อเนื่องจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ครับ
    .
  7. รถไฟฟ้าทุกระบบ / ขนาดเครื่องหมายพื้นที่ priority ในตัวรถเล็กและไม่เด่น
    ปัญหา 99% คือ เมื่อรถเข็นขึ้นไป คนที่คนไม่ขยับให้พื้นที่ ผมต้องบอกดังๆ แทบทุกครั้ง
    (เพื่อให้กระตุ้นเตือนให้คนขยับและความรู้กับคนที่อยู่บริเวณนั้น)
    ข้อแนะนำ: ต้องกำหนดมาตรฐานเครื่องหมายใหม่ ให้ใช้ขนาดใหญ่ขึ้น ใช้สีที่เด่นกว่าเดิม
    และต้องมีการประชาสัมพันธ์ ดีที่สุดใช้ระบบที่บอกสถานี แจ้งเป็นระยะๆ
    เพื่อให้ความรู้ประชาชนถึงการใช้งานพื้นที่ priority ครับ
    .
  8. เข็มขัดนิรภัยใช้ไม่ได้จริง
    เวลารถจอดให้ขึ้น/ลงจำกัด สายรัดนี้ 100% ใช้ไม่ได้ ทั้งเวลาไม่พอและคนพิการที่ไม่แข็งแรงไม่สามารถจัดการเองได้
    ข้อแนะนำ: ต้องให้ผู้ผลิตรถออกแบบระบบสายรัดใหม่ รวมถึงการกำหนดมาตรฐานใหม่
    ให้สามารถใช้งานได้ และปลอดภัย
    .
  9. รถไฟฟ้าทุกระบบ / จุดตรวจอาวุธ / จนท รปภ มักผ่อนผันให้รถเข็นไม่ต้องผ่านเครื่องตรวจวัตถุระเบิด
    ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดมาก ย้ำครับ เข้าใจผิดมาก
    อย่าลืมว่า คนพิการก็สามารถเป็นคนร้ายและพกอาวุธ พกระเบิดได้เหมือนกัน
    จุดนี้ประเทศไทยเข้าใจผิดและมีปัญหามาก คนพิการเพียงแค่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษบางอย่างเท่านั้น
    แต่สำหรับการตรวจอาวุธเพื่อความปลอดภัย ต้องจัดการอย่าเข้มข้นไม่ต่างกับคนอื่นๆ

ส่วนอื่นๆ ถือว่าทำได้ดีครับ
น้องๆ พนักงานยิ้มแย้มแจ่มใส ทักทายน่ารัก ดูแลดีมากต้องขอชมเชยครับ
สภาพสถานีที่เดินทางผ่าน MRT สายสีม่วงสะอาดสะอ้านกว่าตอนเปิดแรกๆ ครับ

ติดตาม SabaLive แบบเต็มๆ กันได้เลยครับ

[เที่ยวไป]



[เที่ยวกลับ]



About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]