ข้อมูลสำรวจห้องน้ำศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

08 กรกฏาคม 2566
ดูชื่อก็บอกได้ถึงความสำคัญและระดับของสถานที่ได้เป็นอย่างดี ผมถือว่าต้องเป็นหน้าตาของประเทศไทย และกฏหมายคือข้อกำหนด “ขั้นต่ำ” และผมถือว่าต้องทำให้มาตรฐานสูงที่สุด เพื่อที่เราจะแข่งขัน อวดคนที่มาเยือนได้พอมีเวลาแวะเข้าไปสำรวจห้องน้ำกันซักหน่อย จุดที่สำรวจคือจากระดับชั้นพื้นดิน จอดรถส่งด้านข้างอาคาร(ฝั่งสวนเบญฯ) เข้ามาตัวอาคาร ตามจุดที่เปิดให้คนเข้า ผ่านเครื่องสแกน ก็ตรงเข้าห้องน้ำเลย
ขอส่งเสียงถึงนักออกแบบและคนดูแลโครงการในระดับนโยบาย มาดูว่า ผมเห็นอะไรบ้าง…

G1. ความกว้างห้องน้ำ ไม่ถึงกับกว้างมาก ผมตีเส้นสีฟ้าไว้ให้ในขนาดรถเข็น ถือว่าผ่านครับ
G2. เกรดอุปกรณ์ที่ใช้ ยี่ห้อสุขภัณฑ์ American Standard ดูรวมๆ ถือว่าเหมาะสม ดูดี มีคลาส ครับ

รายการที่ไม่ผ่านกฏกระทรวงและคำแนะนำเพิ่มเติม ผมวางจุดไว้ให้ตามภาพ สีแดงคือไม่ผ่านกฏกระทรวง:
1. ที่ล๊อคประตูด้านใน
ควรเป็นแบบก้านปัด ให้คิดถึงหากเราเป็นผู้ใช้ที่ไม่มีมือทั้งสองข้าง จะไม่สามารถใช้งานได้เลยครับ
2. กล่องกระดาษทิชชู่
ติดอยุ่ตำพแหน่งค่อนข้างสูงสำหรับผู้ใช้รถเข็นและคนตัวสั้น ผมตีเส้นประเมินความสูงให้แล้ว จุดนี้พลาดกันเยอะครับ
3. ราวจับข้างอ่างล้างหน้าฝั่งติดโถส้วม
ควรเป็นแบบพับเก็บแนวดิ่ง เพื่อเปิดพื้นที่ให้เคลื่อนไหวได้สะดวกครับ
4. โถส้วมเป็นแบบขนาดเด็ก
ผมงงมาก เห็นงานออกแบบหลายหลายๆ จุด ที่เลือกใช้โถส้วมขนาดเล็ก
เดาว่าเป็นความหวังดี แต่เข้าใจผิดมากครับ ขนาดโถส้วมขนาดปกติ คือ แบบที่กลุ่มคนที่ใช้รถเข็นใช้สะดวกกว่า
ขนาดเตี๊ยลง เล็กลง กลับกลายเป็นใช้ลำบากนะครับ
5. เบาะพิงหลัง
ไม่มี ต้องติดตั้งด่วนครับ
6. ปุ่มกดขอความช่วยเหลือ
เป็นเพียงปุ่มกด ไม่มีสายเรี่ยพื้น และมีเพียงจุดเดียว ควรเพิ่มหลายจุดเพื่อเพิ่มโอกาสในการร้องขอความช่วยเหลือ,
ส่วนการใช้งาน ผมยังไม่ได้ทดสอบนะครับ และไฟที่หน้าประตูห้องน้ำยังไม่ได้ดู ไปคราวหน้าจะตรวจซ้ำอีกครั้งครับ

อุปกรณ์ที่ขาดและจำเป็นต้องมี ขาดไม่ได้
M1. เตียงพยาบาล
เพื่อให้คนที่จำเป็นทำธุระ เปลี่ยนผ้าอ้อม เปลี่ยนแพมเพิส มีคนที่จำเป็นอีกหลายๆ ท่านที่ต้องใช้ท่านอนในการจัดการธุระตัวเองครับ

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]