คุณลุงโชจิ Shoji หนึ่งในผู้สร้างประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวที่ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น  มหาอำนาจทางด้านเศรษฐกิจของโลกในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมด้านอิเลคทรอนิค, หุ่นยนต์, ผลิตรถยนต์
รวมถึงทางด้านการคมนาคมขนส่ง และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่มีมาตรฐานสูงที่สุด ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ญี่ปุ่นคือเบอร์หนึ่ง

ผมมีข้อมูลนานแล้วนั่นเป็นที่มาทำไมผมเลือกเดินทางไปญี่ปุ่น ก็เพราะอยากสัมผัสและไปค้นหาคำตอบเรื่องเหล่านี้ด้วยตัวเอง

การเคลื่อนไหวงานคนพิการ ที่เมืองไทย เรามีกลุ่มคนพิการ ผู้นำหลายๆ ท่าน ถอยหลังไปเมื่อครั้งเรายังเด็กๆ ที่ผมพอที่จะได้ช่วยทำงานอยู่เบื้องหลัง, พอได้รู้จัก ได้มีโอกาสร่วมทำงานมีหลายๆ ท่าน เช่น ท่านอาจารย์ณรงค์ ปฏิบัติสรกิจ, พี่(พันโท) ต่อพงษ์ articleกุลครรชิต, อาจารย์สุภรธรรม มงค์คลสวัสดิ์, ที่ต้องพูดถึงซะยืดยาวเพราะการเดินทางไปญี่ปุ่นครั้งที่สองนี้ โจทย์ของผม คือ “ไปคุยกับกลุ่มคนที่มากกว่าเป็นผู้ใช้บริการธรรมดาทั่วๆ ไป” และจากการพูดคุย ด้วยคำแนะนำจากพี่เสาวลักษณ์, คุณสว่างทำให้ผมได้รู้จักคุณโชจิ…

“คุณโชจิเป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ตั้งแต่ยุคพี่ต่อพงษ์แล้ว”: อาจารย์ตั๋นเพื่อนผมให้ข้อมูล

ก่อนเดินทาง เราส่งจดหมายแนะนำตัว พูดคุยกันไปมา และการที่ผมได้เข้าไปเยี่ยม DPI-JAPAN ก็เพราะคุณโชจิได้ช่วยกรุณาเชื่อมต่อให้ครับ, ต้องเรียกได้ว่าที่สุดแล้ว ผมตั้งใจสูงมากกับการเดินทางครั้งนี้
คุณลุงโชจิให้ความกรุณามากๆ ท่านให้เวลาผมเข้าพบทั้งวันเลย จากที่พักเราเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง เดินทางช่วงเวลาเร่งด่วนแถมหลงอีกทำให้เสียเวลาร่วมสองเท่า^^

คุณลุงโชจิเมื่อก่อนท่านดูแลองค์กร DPI-JAPAN, ตอนนี้ท่านดูแลองค์กรของท่าน คือ Human Care (http://www.humancare1986.jp/) พอไปถึงปุ๊บ ท่านก็พาผมไปสวัสดี แนะนำตัวกับพนักงาน, ทุกๆ ท่านน่ารักมากๆ ครับ แล้วเราก็ได้นั่งประชุมกัน

คุณลุงโชจิได้เล่าเรื่องความเป็นมา ตั้งแต่แรกเริ่ม ในงานการเคลื่อนไหวที่ญี่ปุ่น งานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานต่างๆ ให้ฟัง ตั้งแต่ยุคปี 1999 โน้นแหนะครับ

ได้เห็น video ที่ท่านและกลุ่มคนพิการที่ญี่ปุ่นออกมาเรียกร้องที่สถานีรถไฟชินจุกุ เมื่อยุคโน้น พร้อมกับข่าวที่ออกตามสื่อทั่วประเทศ และทุกวันนี้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สูงมาก ในเรื่องการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมต้องบอกว่าดีที่สุดในโลกแล้ว เราได้รับทราบภาพรวมของแผนการพัฒนาประเทศ และยังบอกอีกว่า ‘ยังต้องทำให้ดีกว่า…’ กำลังปรับกฏหมายและเดินต่อครับ ผมเองก็พอมีโอกาส ได้นำเสนองานที่พวกเราเคลื่อนไหวให้ทุกๆ คนได้ดูอย่างคร่าวๆ ด้วยเช่นกัน

ข้อมูลสรุปที่ได้จากฝั่งคุณลุงโชจิสอดคล้องกับข้อมูลจาก DPI-JAPAN ครับ เพิ่มเติมคือ:
1. เดี๋ยวนี้ที่ญี่ปุ่นไม่ต้องออกไปเรียกร้องแล้วแก้กฏหมายและทุกคนก็ทำตามนั้น
2. ญี่ปุ่นไม่ได้ใช้ Platform Lift (ลิฟท์เกาะราวบันได) แล้ว จะมีก็สถานีเก่าๆ ที่ยังใช้อยู่ ส่วนที่เกาหลีมีการใช้งานแบบไม่ได้ดูแล เกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต อย่างน้อย 3 รายแล้ว
3. แผนการพัฒนาต่อไป

สำหรับผมแล้ว ข้อมูลเหล่านี้มีมูลค่ามหาศาลและยิ่งได้มานั่งฟังกับปากของท่านเอง สุดครับ, ช่วงเที่ยงท่านเลี้ยงข้าว และช่วงบ่ายท่านก็ให้ทีมเป็นไกด์ พาเราเที่ยวดูสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม ดีใจมากครับ

ก่อนจากกัน ท่านได้บอกกับผมหนึ่งคำ… ‘เราทำงานเพื่อคนรุ่นหลัง, ช่วยคนพิการด้วยนะ…’ ครับ, ยกมือท่วมหัว เป็นพรที่ผู้ใหญ่ให้กับเรา และนำมาฝากทุกๆ ท่านครับ…

จากการเดินทางไปญี่ปุ่น 2 ครั้งสิ่งที่ผมเห็น:
ในภาพรวมของปัญหา การเคลื่อนไหว ในการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานของทั้งญี่ปุ่นและไทยไม่ต่างกัน
ญี่ปุ่นดีกว่าบ้านเรามากตรงที่ ‘กฏหมายยังไม่ดี ก็แก้ไขกฏหมาย และทุกคนก็ปฏิบัติตาม’ ง่ายๆ เท่านั้นเอง
ส่วนบ้านเรานั้น กฏหมายถือว่าดีมากแล้ว แต่การบังคับใช้และปฏิบัติตาม ก็เป็นอย่างที่เราเห็นกัน’ ครับ

ช่วงท้ายคุณนากานิชิ ภรรยาคุณลุงโชจิคุยกับผมว่า ‘มาญี่ปุ่นใช้งบตัวเองแบบนี้แพงมากเลยนะ’ ผมพยักหน้าและตอบท่านว่า ‘ครับ แพงมาก แต่ทำอย่างไรได้…’

ผมกลับมาไทยด้วยความอิ่มใจ เต็มที่แล้วกับการเดินทางครั้งนี้ แถมทุกๆ ท่านที่เมืองไทยพอทราบว่าผมจะไปเยี่ยมคุณลุงโชจิ ก็รุมกันฝากสวัสดีใหญ่เลย, ผมเลยกลายเป็นซานต้า หอบขนม หอบความปราถนาดีไปให้ถึงญี่ปุ่นเลยครับ ผมเชื่อมั่นว่าต่อๆ ไปการเชื่อมต่อ การทำงานร่วมกันเราจะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

เอาไว้เราเจอกันอีกนะครับคุณลุง ‘Shoji san, the regent…’

/ซาบะ
Accessibility Is Freedom

เขียน ณ​ กรุงเทพมหานคร
08/05/2017 เวลา 3:47pm

 

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]