Chula Walk/1 : ห้องน้ำ อาคารจามจุรี10

[Caption: ภาพ 360 ภายในห้องน้ำ ซาบะอยู่ในห้องน้ำ มีน้องๆ ยืนดูอยู่ด้านนอก]

 

ลงรายละเอียดการสำรวจห้องน้ำ อาคาร จามจุรี 10 ให้ครบๆ ครับ, การสำรวจไม่ได้วัดเป๊ะๆ นะครับ
จุดสีเหลืองส้ม คือ สงสัย, สีแดงคือมั่นใจว่าผิดกฏกระทรวงว่าด้วยการกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน

1. ประตู – ไม่สะดวก
เป็นแบบบานพับดึงออก หรือ เปิดเข้า คนใช้รถเข็นไม่สะดวกเลยครับ ควรเป็นแบบเลื่อนและมีระบบผ่อนแรง ดีที่สุด มีระบบไฟฟ้าช่วยเปิด ปิด ล๊อคประตูครับ, ที่ล๊อคประตูห้องน้ำ ไม่เป็นแบบบานพับ หากมีคนพิการที่ไม่มีมือจะไม่สามารถล๊อคห้องน้ำด้วยตัวเองได้ครับ

2. ระดับความสูงสวิสต์ไฟ – สูงเกินไป
ควรอยู่ในระดับที่ผู้ใช้รถเข็นไม่ต้องเอื้อมมือสูงมาก หากเป็นผู้ใช้รถเข็นที่แขนไม่มีแรงจะมีปัญหาในการเอื้อมสูงๆ ครับ

3. ราวจับข้างอ่างล้างหน้า ระยะห่าง/ความสูง – ไม่ชัวร์ ว่าถูกต้อง
ไปครั้งหน้าคงต้องไปวัดกัน ระยะเหล่านี้สำคัญมาก ติดตั้งผิด คนที่ไม่แข็งแรง คนที่จำเป็นต้องอาศัยราวจับ อาจจะเอื้อทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ครับ

4. ราวจับ ข้างโถส้วม – ไม่มี
แน่นอนครับ ต้องติดตั้งเพิ่ม

5. กระจก – ไม่ได้ติดตั้งแบบเอียง
คนนั่งรถเข็น ความสูง 50% ของคนยืนโดยประมาณ การติดตั้งกระจกที่มีระดับสูงและไม่เอียง ทำให้คนที่นั่งรถเข็นมองเห็นแค่หัวตัวเอง

6. ชุดปุ่มกดชำระล้าง
เป็นมาตรฐานของโถสุขภัณฑ์ที่เห็นทั่วๆ ไปที่มีปุ่มกดชักโครกที่อยู่ด้านหลัง คนทั่วไปคงใช้ได้ไม่เดือดร้อนอะไร
แต่ให้นึกถึงคนที่เคลื่อนไหวยากลำบาก นั่งทำธุระแล้วต้องกดชำระ ไม่ง่ายเลยครับ
ดีที่สุด เลือกใช้มาตรฐานที่สูงกว่า แบบห้องน้ำญี่ปุ่น คือ มีแป้นควบคุมอยู่ด้านข้าง

7. เบาะรองหลัง – ไม่มี (ตามกฏกระทรวง)

8. ระยะราวจับฝั่งนี้ – ต้องตรวจสอบ

9. ความกว้างห้องน้ำ – ไม่เพียงพอ
ไม่ได้วัดระยะครับ รถเข็นผมขนาดกลางๆ ยังรู้สึกว่าต้องระวัง หากเป็นคนตัวใหญ่หรือตัวอ้วน ใช้รถเข็นคันใหญ่ การหมุนตัว ทำธุระคิดว่าไม่พอ, ยิ่งประตูเปิดแบบผลักเข้ายิ่งทำให้ไม่สะดวกเข้าไปอีกครับ

10. ระบบขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน – ไม่มีครับ!
ผมแปลกใจมาก เรื่องสำคัญมาก

 

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]