รีวิว การเข้าถึงอาคาร ห้างสีลมคอมเพล็กซ์

ภาพ บันได 7 ขั้นเดินลงสู่พื้นอาคาร

ห้างสีลมคอมเพล็กซ์หนึ่งในห้างเครือเซ็นทรัล อยู่กลางสีลม พื้นที่ธุรกิจที่ทุกคนรู้จักดี
เป็นห้างอยู่คู่กับคนไทยมา 29 ปีแล้ว มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาตามวาระ
เพราะเป็นห้างที่อยู่ติดกับสถานีรถไฟฟ้า ผมเองก็แวะไปเรื่อยๆ
ผมพยายามผลักดันให้ห้างนี้เกิดการเข้าถึงที่ดีขึ้นนานแล้ว เอาการเข้าถึงอาคารกันก่อน เรามาดูกันว่ามีประเด็นอะไรบ้าง
ดูตามที่ผมกำหนดจุดไว้นะครับ

[การเข้าถึงจากสถานีรถไฟฟ้า]
1)  ภาพบน จากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ศาลาแดง ทางเดินเชื่อมเข้าห้าง เราจะเจอบันได 7 ขั้น

[การเข้าถึงจากระดับพื้นดิน หน้าห้าง]
2) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ศาลาแดง สถานีนี้ไม่มีลิฟท์และทางลาด
3) ทางเท้าเป็นพื้นต่างระดับความสูงซัก 2-3 นิ้ว
4) หน้าอาคารเป็นบันได 7 ขั้น
5) และมีทางลาดด้านข้าง ความลาดชันชันกว่า 1:12 พื้นทางลาดทำจากเหล็กเป็นซี่ๆ และลื่น ยิ่งฝนตกยิ่งลื่น อันตรายต่อทุกคนมาก

ภาพ หน้าอาคาร จากพื้นดิน มีบันไดและทำทางลาดด้านข้าง

[งานการผลักดัน]
1) ผมนำเคสนี้เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ผิดพลาด สอนน้องๆ นศ มานานหลายปีแล้ว รวมถึงพาเพื่อน พี่น้องไปลงดูพื้นที่จริง
2) 4 มีนาคม 63 สำรวจพื้นที่จริงโดยผู้แทนคณะวุฒิสภาฯ นำโดยท่านอาจารย์มณเฑียร บุญตัน และคณะ T4A https://fb.watch/8DJTtBiyyj/
3) 3 เมษายน 63 หลังจากนั้นหนึ่งเดือน ผมนำเรื่องนี้ไปพูดในเวที TEDxTalk โดย TEDxCharoenkrung  https://youtu.be/MdujSm4JTJs  https://www.ted.com/talks/manit_intharapim

[การเข้าถึงอาคารตอนนี้ยังไง]
1) ยอมขอให้คน ‘หาม’ ลงบันได ซึ่งอันตรายมาก ตัวใครตัวมันนะครับ
2) ทางเลือกที่ผมทำตลอดเวลา คือ ยอมเข็นรถไปตาม Skywalk ไปใช้ลิฟท์ MRT สีลม ห่างออกไปประมาณ 300เมตร แล้วก็เข็นกลับมาตามทางเท้า(ที่มีสภาพแบบไทยๆ) ระยะทางเท่ากัน รวมแล้ว 600 เมตรครับ (ต้องไม่ลืม เที่ยวกลับก็ต้องเข็นตามทางเดิมอีก)
3) แล้วก็ใช้ทางลาดที่เขาทำไว้หน้าห้างแบบอันตรายๆ นั่นแหละครับ

[ใครมีความผิดบ้าง]
1) ห้างเซ็นทรัลสีลมคอมเพล็กซ์
2) รถไฟฟ้าบีทีเอส-ผู้ให้บริการ และกทม-เจ้าของระบบรถไฟฟ้า และ กทม มีหน้าที่อนุมัติการร้องขอทำทางเชื่อมเข้าสู่สถานี, และเป็นเจ้าของพื้นที่ทางเท้า
3) คนออกแบบและจัดสร้างระบบรถไฟฟ้าและสถานี (ก่อนที่จะโอนให้ กทม)

[เรามีกฏหมายและอะไรสนับสนุนบ้าง]
1) EIA, การออกแบบสถานี, การออกแบบการต่อเชื่อม
2) พรบและกฎกระทรวง ประกอบด้วย พรบ ควบคุมอาคาร, กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา, กฏกระทรวง กำหนดลักษณะหรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และการบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้, พรบ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (อ้างอิง https://www.accessibilityisfreedom.org/กฏหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ/)
3) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
4) ยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคม, ยุทธศาสตร์ชาติ
5) นโยบายรัฐบาล

เดี๋ยวจะบอกว่า ซาบะมีแต่บ่นไม่เห็นแนะนำเลย จะบอกแค่ว่า “การแก้ไข เรื่องเล็กๆ ทำได้ง่ายๆ รู้กันดีอยู่แล้ว” แค่ขอให้ภาคีคนพิการ ” มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นจนจบ” เท่านั้นพอ ครับ

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]