บนเครื่องบินพื้นที่จำกัด สายการบินที่มีจำนวนผู้โดยสารไม่มาก เช่น สายการบินที่ให้บริการในประเทศ ทางเดินจะไม่กว้างมาก สำหรับผู้โดยสารพิเศษที่เดินไม่สะดวก(นั่งรถเข็น) สายการบินจะมีรถเข็นขนาดเล็ก (เคบินวิลแชร์ Cabin Wheelchair) ไว้เพื่อเคลื่อนย้ายผู้โดยสารพิเศษกลุ่มนี้เข้า/ออกจากตัวเครื่อง
Read More »รีวิวรถไฟฟ้าสายสีทอง ห้องน้ำ
รีวิวห้องน้ำบ้าง รถไฟฟ้า BTS สายสีทอง ทั้ง 3 สถานี สร้างห้องน้ำเหมือนๆ กัน, ขออนุญาติเรียกว่า เป็นมาตรฐานห้องน้ำแบบไทยๆ ออกตัวว่าแค่ไปดู ไม่ได้ถึงกับวัดระยะอย่างละเอียดนะครับ ผมให้สีไว้เพื่อให้แยกประเด็นได้ง่าย [สีแดง] ไม่ผ่านกฏกระทรวงว่าด้วยการกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน [สีเหลืองส้ม] คือ สงสัย-อาจจะต้องตรวจสอบเพิ่ม หรือมีคำแนะนำ
Read More »รีวิวรถไฟฟ้าสายสีทอง ชานชาลา
มาดูบนชานชาลาบ้าง [รถไฟฟ้าสายสีทอง] คร่าวๆ ระบบรู้สึกลักษณะสถานีจะเล็ก ย่อมกว่าสถานีรถไฟฟ้าระบบอื่นที่เป็นระบบรางและใช้ล้อเหล็กทั่วไป เช่น ของ BTS หรือ MRT ตามภาพเป็นชานชาลาสถานีกรุงธนบุรี มีการติดตั้งประตูกันผู้โดยสารตกราง มีการวางกระเบื้องสัมผัสเพื่อผู้พิการสายตา(เฉพาะตัวเตือน) โครงสร้างสถานีนี้ถือว่าดูดี ให้คนที่ไม่เคยไปได้เห็นสภาพแวดล้อมครับ
Read More »รีวิวรถไฟฟ้าสายสีทอง ตัวรถโดยสาร
[รถไฟฟ้าสายสีทอง] กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าของ ดูแลโดยสำนักขนส่งและการจราจร (สจส) และบริษัทกรุงเทพธนาคมออกแบบและควบคุม (รัฐวิสาหะกิจ บริษัทลูกของ กทม) / บริษัท BTS เป็นผู้ให้บริการ ตัวรถเป็นรถแบบล้อยาง วิ่งอัตโนมัติ/ไม่มีคนขับ สายสีทอง ตอนนี้มี 3 สถานีคือ สถานีกรุงธนบุรี, สถานีเจริญนคร และสถานีคลองสาน
Read More »ทางเข็นรถผมแคบจัง
ผ่านไป MRT สถานีสามย่าน ประตู#1 เจอว่าทางไปหน้าลิฟท์แคบมาก รถเข็นผมคันไม่ใหญ่ยังรู้สึกต้องระวัง แถมพื้นมีตะแกรงและเสาต้องระวังเพิ่มขึ้นอีก รถเข็นคันใหญ่ๆ ติดแน่ๆ พอมาเปิดดูภาพจาก Google Street View ดูปุ๊บ รู้สึกได้เลยว่า ทำไมทางเข้าออกคนทั่วไปกว้างจัง แบ่งให้ผมอีกหน่อยได้ไหม?
Read More »สำรวจรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีรังสิต ครั้งแรก
[ภาพ 360 ซาบะและทีม FD ล้อมวงถ่ายภาพที่ชั้นจำหน่ายตั๋ว] 25 เมษายน 2564 เมื่อวานพี่ซาบะ Accessibility Is Freedom / T4A และเพื่อน พี่ น้องทีม FD ชวนกันไปลุยสำรวจรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีรังสิต ครั้งแรกครับ สถานีอยู่บนพื้นที่ส่วนตัว, สถานีนี้มีลักษณะพิเศษ เป็นสถานีขนาดใหญ่ มีความยาว 300เมตร มีรางรถไฟทางไกลผ่ากลางสถานี ทำให้ระดับพื้นดินแยกเป็น ฝั่งซ้าย กลางและฝั่งขวา แยกกัน (สำรวจได้เพียงฝั่งเดียว)
Read More »รถเมล์ไฟฟ้า ดีงาม ทุกคนใช้ได้ ใหม่กิ๊ก
นโยบายปฏิรูป #ขสมก ปรับแผนรถเมล์ใหม่เป็นระบบเช่า ใช้ไฟฟ้า และที่สำคัญเป็น “ชานต่ำ” เป็นคำแทนหมายถึง ตัวรถที่ออกแบบเอื้อให้กลุ่มคนที่ใช้รถเข็นใช้ได้ ข้างในเป็นพื้นระดับเท่ากัน ไม่มีบันได มีทางลาด, มีพื้นที่ มีจุดล๊อครถเข็น รถที่วิ่งมาจะสังเกตุได้มีเครื่องหมาย “Wheelchair” ที่ด้านหน้าใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ “จำนวนเพิ่มขึ้น” ตอนนี้เห็นเริ่มวิ่งมากขึ้นแล้ว
Read More »รถบัสแบบนี้กลุ่มผู้ใช้รถเข็นใช้ได้
เป็นภาพถ่ายร่วมกันบนรถบัสที่ใช้เดินทางทั้งสองวันกับทริป “เชียงใหม่ Accessibility” ในภาพคือคณะทัวร์ของวันที่สองบางส่วน ท่านรอง, ท่านผู้เชี่ยวชาญ จากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการทั้งจากส่วนกลางและเชียงใหม่ ทีมน้องๆ ที่คอยดูแล, บุคลากรภาคการศึกษาและทีมคนพิการครับ กลุ่มคนที่ใช้รถเข็น กรุงเทพฯ แม้จะไม่สะดวกและค่าใช้จ่ายสูง แต่เรายังพอมีทางเลือกในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็น แท็กซี่ CABB, แท็กซี่, รถเมล์(แบบใหม่) และรถไฟฟ้า
Read More »ภาคีคนพิการร่วมสำรวจ ปรับปรุงสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอตเรลลิ้ง
18 มกราคม 2565 ผู้แทนภาษีคนพิการ, กรมรางและผู้แทน CP ซึ่งเป็นบริษัทที่จะมาให้บริการ ดูแลระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ใหม่ ร่วมลงสำรวจพื้นที่เพื่อหารือการปรับปรุงสถานี เพื่อให้ประชาชน “ทุกคน” เข้าถึงระบบอย่างสมบูรณ์ที่สุด
Read More »คุณภาพการปูพื้นสถานีกลางบางซื่อ
ภาพจากการลงพื้นที่ครั้งล่าสุดเมื่อเดือนที่แล้ว ให้ดูคุณภาพงาน, สภาพการปูพื้น สมมุติว่า เราจ้างสร้างบ้าน ยังไม่เสร็จดี ยังไม่ได้รับมอบบ้านเลย แต่เราพบกว่า คุณภาพการก่อสร้างเป็นแบบนี้ เราจะทำยังไง สิ่งที่ผมรู้สึกได้ชัดเจนที่สุด คือ “อายเด็ก” จริงๆ ครับ นี่ยังไม่รวมกับพื้นภายในที่กระดำกระด่าง หลังคาที่หลายๆ จุดพบว่า “บวม ลอก” แล้ว ประเด็นสถานีกลางบางซื่อติดตามดูได้ตามลิงค์นี้ https://www.accessibilityisfreedom.org/tag/สถานีกลางบางซื่อ/
Read More »