ป้ายที่มองถึงคนทุกกลุ่ม สื่อสารได้ชัดเจน เรียบง่าย เข้าใจง่าย ช่วยทุกคนได้

ภาพ พี่ซาบะกำลังชี้สัญลักษณ์ priority que ที่พื้นหน้าลิฟท์

ตลอดหลายปีของการทำงานผลักดันเพื่อให้เกิดการเข้าถึงสิ่งสาธารณะอย่างเท่าเทียม มีหนึ่งเรื่องที่ผมอยากเขียนให้พวกเราได้อ่าน คือ เรื่องของ Signage หรือป้าย, สัญลักษณ์และเครื่องหมายนำทาง (Way Finding) ครับ

เมื่อก่อน สิ่งอำนวยความสะดวกในส่วนนี้ ยังไม่ได้อยู่ในความสนใจของผมมากนัก หลายๆ ครั้งพอได้รับความรู้จากภาคีเครือข่าย เพื่อน พี่ น้อง จากหลากหลายประเภทความต้องการจากการทำงานร่วมกัน ทำให้รู้ว่าเรื่องนี้สำคัญไม่แพ้อย่างอื่นเลย

พวกเราเป็นกลุ่มคนที่ “1. ตามองเห็น“, “2. หูได้ยิน“, หรือ “3. คิด, พูดและสื่อสารได้เป็นปกติ” หากเครื่องหมายนำทาง ป้ายและสัญลักษณ์ต่างๆ ไม่ดีหรือไม่มี ก็คงหาตัวช่วยได้ไม่ยากเย็น ใช้มุขถามไถ่เจ้าหน้าที่ สุดท้ายก็เดินทางได้ ไม่หนักหนา

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า นี่คือ “ปัญหา”, ให้คิดถึงเราต้องรีบเดินทาง มีนัดสำคัญ ด้วยเครื่องหมายที่ไม่ดี ทำให้เราหลงทางหรือเสียเวลาในการเดินทางมากขึ้น และปัญหานี้จะกลายเป็น “ปัญหาใหญ่” ขึ้นมาทันที หากเราเป็นกลุ่มคนตรงกันข้าม คือ “4. ตามองไม่เห็น“, “5. หูไม่ได้ยิน“, หรือ “6. คิด สื่อสาร พูดได้ไม่เท่ากับคนอื่นๆ

ผู้ปกครองน้องออทิสติกเคยแชร์ประสบการณ์ในที่ประชุมสำคัญนัดหนึ่งที่ว่า “ไปเที่ยวห้างกับน้อง มีเหตุพลัดหลงกัน ตามหาแทบแย่ สุดท้ายไปเจอน้องเดินอยู่บันไดนอกอาคาร ใจหาย กังวลความปลอดภัยมาก” – หากระบบป้าย สัญลักษณ์และเครื่องหมายนำทาง ออกแบบมาให้คำนึงถึงแนวคิด “Easy To Read” ซึ่งหมายถึง “ดู-อ่าน-เข้าใจง่าย” น้องจะไปไหนได้มั่นใจมากขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น

เสียง” จะช่วยนำทางคนมีปัญหาทางสายตาได้
 
ป้ายและสัญลักษณ์แบบ Easy To Read” จะช่วยนำทางกลุ่มคนที่มองเห็นได้ ผมพยายามหาข้อมูลมาพักใหญ่ เพิ่งพอมีภาพประกอบ อยากเอามาแชร์กัน เพื่อมากระตุ้นให้ผู้บริหารและน้องๆ กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบได้เห็นความสำคัญครับ

บ้านเรา ป้าย, สัญลักษณ์และเครื่องหมายนำทาง บอกเลยว่า มีจุดบอดมาก มีปัญหาหนักมาก ให้คิดว่า เราไม่รู้เรื่อง เพิ่งไปจุดนั้นๆ ครั้งแรกป้าย, สัญลักษณ์เครื่องหมายต่างๆ ที่แปะอยู่ เราต้องมอง ไม่ต้องเพิ่งอ่าน มองแว๊ปเดียว สมองก็รับรู้ เข้าใจและสั่งงานได้ทันที

จำได้เลย ล่าสุดไปสถานีกลางบางซื่อ นั่นคือครั้งแรกที่ไปทดลองเดินทาง พบว่าป้ายนำทางออกแบบได้ไม่ดีเลย นี่ขนาดเราเป็นคนท้องถิ่นยังต้องใช้วิธีถามเจ้าหน้าที่

กลุ่มคนที่สมองไม่ปกติเหมือนเราๆ ต้องการสิ่งนี้มากครับ

ผมเห็นภาพภาพจากสนามบินจังหวัดขอนแก่นที่ “โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure” ไปถ่ายมา ขอหยิบมาแชร์ มาขยาย รวมถึงภาพที่ผมถ่ายมาจากสิงค์โปร์

ส่วนเรื่องนำทางด้วยเสียง อยู่ข้างนอกแบบแผนที่ทั่วไปน่าจะพออาศัยได้ แต่ในอาคารนี่ผมยังไม่มีข้อมูลว่าประเทศไหนทำระบบนี้ครับ

ให้นึกถึง เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้อย่างหนัก ทุกคนต้องหนีตาย เรามีเวลาแค่ไม่กี่วินาที สิ่งเหล่านี้จะเอื้อให้ทุกคนหนีภัยได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันความสูญเสียที่เราไม่อยากให้เกิดได้อย่างแน่นอนครับ!

ภาพ สนามบินขอนแก่น ทางเข้าอาคาร มีป้ายด้านบนเขียนชัดเจนว่า "ทางเข้า"

ภาพ สนามบินขอนแก่น ทางไปห้องน้ำ มีสัญลักษณ์รูปผู้หญิง ผู้ชาย และสัญลักษณ์ Wheelchair ชัดเจน

ภาพ สนามบินขอนแก่น ป้ายสัญลักษณ์รอบๆ อาคารที่ชัดเจน

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]