ที่จอดรถคนพิการ the story ‘ปัญหาที่จอดรถคนพิการ สวนหลวง ร 9’

ผมเริ่มไปออกกำลังกายที่สวนหลวง ร 9 บ่อยขึ้น ถี่ขึ้น
สิ่งที่พบแต่แรกคือ ที่จอดรถคนพิการ ที่สวนทำไว้มีเพียง 2 จุด จุดละ 2 ช่องจอด นั่นหมายถึงมีเพียง 4 ช่องจอด
ทุกๆ ครั้งที่ผมไปออกกำลังกาย มีไม่กี่ครั้งที่ผมได้จอดที่จอดรถคนพิการ
จริงๆ ผมไม่อยากอะไรมาก ผมก็ได้แต่ดูๆ มองๆ เรื่อยมา

แต่เมื่อวานเป็นวันอาทิตย์ช่วงวันหยุดคนเยอะมาก หลัง 5 โมงเย็น รถเต็มพื้นที่ครับ
มีที่จอดเหลืออยู่พอควรแต่หากผมติดสินใจจอด ตอนกลับรับรองว่ามีปัญหาแน่ (เพราะโดนจอดชิด – ที่ว่างไม่พอขึ้น/ลง)
ณ จุดที่ผมไปจอด ช่องซ้ายโดนมอเตอร์ไซด์จอดเต็ม ผมขอให้พี่ รปภ ช่วยลากรถมอเตอร์ไซด์ออกไปจากพื้นที่ (ได้เหงื่อพอควร เพราะร่วมสิบคัน)
พอได้จอดเอ๊า อีกช่องว่างพอดี ก่อนออกกำลังกายครึ่งชั่วโมงขอนั่งดูพฤติกรรมของคนเสียหน่อย

  1. หลายต่อหลายคันที่เข้ามาจอด จอดเสร็จผมเห็นว่า รถคันนี้ไม่จำเป็นต้องจอด ผมก็จะขอร้องและอธิบายให้พี่ๆ เค้าได้เข้าใจว่า
    ‘พี่ครับ เหลือพื้นที่ไว้สำหรับคนที่เดือดร้อนจริงๆ นะครับ พี่ๆ ยังแข็งแรง เลยไปนิดก็มีที่จอดแล้ว…’
    ทุกคันน่ารักครับ ..ยอมย้ายรถแต่โดยดี
    .
  2. มี 1 คัน ครอบครัวมาเต็มคันรถ มีคุณพ่อ คุณแม่ คุณลูกๆ และคุณยาย
    คนที่เปิดประตูก่อนคือคุณแม่ ผมบอก ‘พี่ครับเหลือพื้นที่ไว้ให้คนที่จำเป็นจริงๆ จอดเถอะนะครับ….’
    คุณพี่แกตอบผมว่า ‘นี่ไงมากับคุณยาย เดินไม่คล่อง .. .’ แล้วชี้มาที่คุณยายที่กำลังลงรถ
    ดูๆ ท่าทางคุณยายก็เดินได้คล่อง คล่องแบบผู้สูงอายุ แต่พี่เขาพยายามเข้าไปประคองแบบ จะให้ดูเหมือนคุณยายแกเดินไม่ไหว 555
    คุณพ่อกำลังเปิดประตูหันมา ผมก็พูดคำเดิมครับ ‘พี่ครับ เหลือพื้นที่ไว้ให้คนที่เดือดร้อนกว่าเถอะนะครับ ส่งคนแล้วพี่ย้ายรถได้ไม่ลำบาก…’
    คุณพี่ผู้ชายก็ทำหน้างง งง …คุณลูกที่อยู่ในวัยวิ่งซน วิ่งเล่นแล้วก็เปิดประตูหน้าฝั่งข้างคนขับลงมาพอดี
    ผมก็บอกว่า ‘น้องครับช่วยพี่บอกคุณพ่อคุณแม่ด้วยนะ…’ คุณแม่เดินพาคุณยายเลยเข้าสวนไปแล้ว …
    สายตาคุณแม่ บอกผมว่า คุณแม่เป็นเหมือนคนส่วนใหญ่ที่สังคมไทยเป็น.. ‘ฉันจะจอดจะทำไม…’
    ยังดีที่คุณพ่อยอมย้ายรถ พอพี่เค้าเดินกลับมา ผมก็ยกมือไหว้ขอบคุณ
    พอออกกำลังกายเสร็จ เที่ยวกลับเจออีก คุณยายยังยกมือไหว้ขอโทษผมอีกด้วย ผมต้องรีบยกมือไหว้แกตอบ กลัวบาป
    .
  3. ก่อนกลับผมขอให้ รปภ ช่วยเรียกหัวหน้าที่ดูแลสวนมาหน่อย พอดีเป็นวันหยุด
    แต่ได้โทรทักทาย พูดคุยกัน ผมฝากหนังสือการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกและนามบัตรไว้ให้
    และกำชับว่า ‘ส่วนของสวน เรามาช่วยกันแก้ไขที่จอดรถคนพิการให้ถูกต้องกัน, ส่วนของสำนึกสาธารณะ ผมช่วยพี่เอง’

นี่เป็นเรื่องจริง เป็นความจริงที่เกิดขึ้นทุกๆ วันในสังคมไทย
ที่จอดรถคนพิการ story ที่เวลาลงพื้นที่สนุกแบบนี้
หากคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ คุณคิดผิดถนัด ปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้สังคมไทยมีสภาพแย่มากแค่ไหน
หากต่างคนต่างเพิกเฉย สังคมไทยจะหนักหนากว่านี้มาก
สิ่งที่เราทำได้เลย คือ นับหนึ่งมาช่วยกันลุยแก้ปัญหากันครับ
คอยติดตามปัญหาที่จอดรถคนพิการที่สวนหลวง ร 9 กันนะครับ

วันหน้าใครอยากลงพื้นที่พร้อมผมบอกนะครับ

ปล. หนังสือคู่มือการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวก ผมได้รับจากสำนักการโยธากรุงเทพมหานคร ขอบคุณครับ

– – –
ติดตามเรา:
– Facebook : https://www.facebook.com/AccessibilityIsFreedom/
– Twitter : https://twitter.com/AIFTHAILAND/
– Web : https://www.accessibilityisfreedom.org/

ประเด็นต่างๆ:
– ที่จอดรถคนพิการ สวนหลวง ร 9 : https://goo.gl/HvmLjr
– ปัญหาที่จอดรถคนพิการ : https://goo.gl/6VsBQy
– สำนึกสาธารณะ : https://goo.gl/d6GmEo

– ร่วมสนับสนุนงานของเรา : http://goo.gl/i02iPu
– – –

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]