Bangkok City Run | วิ่งสำรวจเมือง EP1 – MRT สามย่าน – ศาลาว่าการ กทม (เที่ยวไป)

พอดีไปประชุมที่ศาลาว่าการ กทม (เสาชิงช้า) ได้โอกาสรื้อโครงการวิ่งสำรวจเมืองมาทำต่อ ในคณะผู้บริหาร กทม ใหม่ ผมกำหนดครั้งนี้เป็นครั้งแรกครับ

วิ่งสำรวจเมือง Bangkok City Run เกิดขึ้นเพราะเห็นอาจารย์ชัชชาติวิ่งทุกเช้า และผมเห็นว่าการวิ่งของอาจารย์ลงรายละเอียดอะไรมากไม่ได้
ผมเลยต้องออกวิ่งอีกครั้ง เพื่อให้เห็นรายละเอียดเพิ่มขึ้น เติมข้อมูลช่วยกันครับ

ไปประชุมครั้งนี้ผมเลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะครับ, ขับรถไปจอดที่ ARL หัวหมาก > แล้วใช้รถไฟฟ้า ARL > ไปต่อ MRT
จาก MRT สามยอด ระยะทางเพียงแค่ 1 กิโลเมตร เดินทางด้วยเท้าสบายๆ ไม่ว่าใครก็ต้องทำแบบนี้ได้ เป็นการออกกำลังกายเล็กๆ ซึ่งดีต่อสุขภาพเรามากครับ

ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่วิ่งเส้นนี้ เริ่มออกวิ่งโดยใช้โจทย์ใช้ทางเท่าให้มากที่สุด ทางเท้าพอเข็นไปได้ซัก 50% ที่เหลือต้องลงถนน สรุปต้องแก้ 100

เส้นทางนี้อยากขอให้รีบแก้ไข เอาจุดบอดหลักๆ ก่อน ทำเยอะๆ เดี๋ยวค่อยว่ากัน ให้ทุกคนเดินได้ วิ่งดี ไม่ว่าสภาพร่างกายเป็นแบบไหน
กราบฝากอาจารย์ชัชชาติ ว่า พนักงานที่ทำงานที่ศาลาว่าการ ใครที่เดินทางโดยใช้ขนส่งสาธารณะได้ หากลดการใช้รถส่วนตัว ทำได้ต่อเนื่อง ขอให้มีการเก็บคะแนนแล้วให้รางวัล แล้วเราจะเป็นหนึ่งส่วนที่ช่วยลดปริมาณรถที่วิ่งบนถนนได้ครับ

ข้อมูลเหล่านี้ บอกสภาพแวดล้อม กทม ได้เป็นอย่างนี้ แนวคิดนี้เอาไปปรับใช้ทุกๆ จุดได้หมด

ถ่ายภาพมาฝากบ้างเฉพาะจุดที่คิดว่า น่าจะต้องถูกแก้ไข:

1. ออกจาก MRT สามยอด สภาพทางเท้าถนนเจริญกรุงปรับปรุงใหม่ รถเข็นไปได้สบายมากครับ > เลี้ยวขวาเข้าถนนสิริงษ์ สภาพทางเท้าสภาพไทยๆ ล่ะครับ พอหารูไปได้ ไปไหวไม่หนักหนา https://www.google.com/maps/@13.7470845,100.501089,3a,75y,50.21h,98.9t/data=!3m6!1e1!3m4!1su6E30WWN_8PbMVbugqvpJw!2e0!7i16384!8i8192?authuser=0

 

2. ภาพ หน้าสวนรมณีนาถ ทางเท้าหน้าสวนพอไหวครับ แนวต้นไม้กระถางต้นไม้อยู่ในร่องในรอย พอมีพื้นที่ให้คนสัญจรได้บ้าง ให้ดูตามภาพความกว้างส่วนทางเดินที่เดินได้ คือ กระเบื้อง 2 แผ่น รถเข็นผมเป็นประเภท Active Wheelchair (รถเข็นใช้งานประจำวัน เน้นความคล่องตัว ความกว้างขอบล้อซ้ายถึงขวา 60cm) ไปได้ ไม่หนักหนาครับ

 

3. ภาพ จุดประตูกลางสวน มีการทำซุ้มเฉลิมพระเกียรติ บดบังทางเดิน แต่พอหาช่องไปได้ๆ ครับ
สิ่งปลูกสร้างใดๆ หากเกิดการควบคุม ดูแลจากหัวหน้างานเป็นอย่างดีแล้ว จะไม่เกิดอุปสรรคให้กับคนเดินเท้า
ภาพจาก Google Street View เหมือนกันครับ https://www.google.com/maps/@13.7487922,100.5016545,3a,90y,108.61h,98.11t/data=!3m6!1e1!3m4!1s2cwArE__RPVVt3-e4VBK8A!2e0!7i16384!8i8192?authuser=0

 

4. ภาพ ตัวอย่างทางข้ามบริเวณหน้าสวน หนึ่งจุด ก็เป็นทางข้ามแบบไทยๆ ครับ คือ คำนึงถึงรถเป็นหลัก รถขับมา ผ่านสบายๆ ส่วนคนเดินก็ต้องเดือนขึ้น ลง ขึ้น ลง เผลอแป๊บเดียวโดนรถเหยียบ รถเองก็ไม่รู้สึกว่าเหยียบอะไรไป เพราะปกติก็ขับพื้นเรียบๆ ไม่เคยมีอุปสรรคอะไร ส่วนรถเข็นจะข้ามถนนเหรอ อย่าเรียกว่าได้เลย เรียกว่าอนาถเหมาะกว่าครับ

 

5. ภาพ เลยมาหน่อย จะเจอป้อมอะไนซักอย่าง คงเก่าแก่น่าดู มีซอกเล็กๆ ตามภาพ ผมพอไปได้ คนที่ต้องใช้พื้นที่กว้างกว่าผม ตัวใครตัวมันครับ
https://www.google.com/maps/@13.749445,100.5017312,3a,75y,44.6h,99.33t/data=!3m6!1e1!3m4!1sDsXYXZhzqQiqqz3oED-J7A!2e0!7i16384!8i8192?authuser=0

 

6. ภาพ ทางเดินจากจุดสิ้นสุดเขตสวนสาธารณะเข้าเขตบ้านผู้คน ทางเท้าขาดตอน ไม่มีทางลาด คนเดินเท้าต้องเดินขึ้นลง ขึ้นลง ตามเคย
ส่วนรถเข็น ต้องบู้ ต้องใช้ถนนสวนกับรถที่วิ่งมา ต่อเนื่องผ่านบ้านคน, โรงเรียน, ตรอก ซอกซอย ใช้ทางเท้าได้บ้าง ลงถนนบ้างสนุกดี จนมองเห็นเสาชิงช้าครับ

 

7. ให้สังเกตุบริเวรเสาชิงช้า ผมกระตุ้นให้เห็นแนวคิดที่ยึด “รถเป็นหลัก” เหมือนทางข้ามตะกี๋ครับ คนต้องเดินขึ้นลง ขึ้นลง ขึ้นลง ส่วนรถก็ขับสบาย ไม่มีอุปสรรคอะไร ผมอ่านเจอ รผว กทม ไปประชุมให้นโยบายไว้กับ สจส ขอให้ยึดคนเดินเท้าเป็นหลัก ชื่นใจ ต่อไป สจส คงกล้าที่จะทำให้ทางข้ามให้คนเดินปลอดภัยกว่าเดิม สู้ๆ ครับ https://www.google.com/maps/@13.7519009,100.5019866,3a,90y,22.18h,101.28t/data=!3m6!1e1!3m4!1sNMG9fP8ls5S5mTRcMVg3gA!2e0!7i16384!8i8192?authuser=0

 

8. ภาพ เดินต่อ เป็นช่วงร้านค้ากลุ่มพระหล่อ ก็เป็นสภาพเดิมๆ มาตรฐานทางเท้าไทยครับ คือ มีรุกล้ำทางเท้า ปัญหาเหล่านี้แก้ง่ายนิดเดียว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานแข่งกับท่าน ผว กทม ออกตรวจตรา กระตุ้น เตือน ให้ความรู้ สุดท้ายถ้าเอาไม่อยู่ก็จับปรับครับ

 

9. ภาพ ด้านหน้า ศาลาว่าการ กทม
เป็นอาคารเก่า ทางเข้าหลักเป็นบันได ผมเคยไปนั่งทำตามปริบๆ อยู่ด้านบน มองอาจารย์ชัชชาติให้สัมภาษย์อยู่ด้านล่าง
ทุกคนมองขึ้นมาหาผม ทำท่าเหมือนจะถามว่าลงมั้ย ผมส่ายหน้า ไม่เอา ไม่อยากโดนยกครับ

ตอนนี้การเข้าถึง อาคารของ กทม คือ คนที่ใช้รถเข็นต้องใช้ทางรถวิ่ง ทั้งเข้าอาคารจากด้านนอกและเข้ามาภายใน https://www.google.com/maps/@13.7539882,100.5023083,3a,75y,326.99h,85.55t/data=!3m6!1e1!3m4!1s7Q3UbC9kHI0OWDWnFGM3Bg!2e0!7i16384!8i8192?authuser=0

สิทธิการเข้าถึงอาคารสถานที่ ต้องสร้างให้เกิดความเท่าเทียมในทุกๆ มิติ ทางเข้าหลักทุกคนต้องเข้าได้ ไม่ต้องอ้อมไปด้านหลัง ไม่ต้องไปไฟว์กับรถครับ

จบ session แรกของวิ่งสำรวจเมือง (Bangkok City Run) ในแบบฉบับของ Accessibility Is Freedom
ใครพร้อม ชวนนะครับ ไปออกกำลังกาย ทุกคนไปวิ่งด้วยกันครับ!

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]