16 สิงหาคม 2565
การบรรยายเพื่อสร้างความเข้าใจถึงความแตกต่างของคนให้กับน้องๆ นักศึกษาวิชา Inclusive Design คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
ปีนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่ต้องระมัดระวังโควิด น้องๆ ปี2 นักออกแบบรุ่นใหม่ 80คน+
เราปรับแนวทาง ช่วงเช้าอาจารย์ภาควิชากำหนดกิจกรรมให้น้องๆ ได้ทดลองเป็นคนพิการและให้ลองเดิน ทำกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่มหาวิทยาลัย, บ่ายบรรยาย
ปีนี้มีน้องๆ นักศึกษาพิการของธรรมศาสตร์เองมาช่วยเป็นสิบคนเลย และผมเองก็มีน้องๆ คนรุ่นใหม่จากโรงเรียนมาแตร์ฯ และสาธิตจุฬา มาช่วยงานและมาร่วมกิจกรรมด้วย ผมปรับเนื้อหาพูดให้น้อยลง เบาลง ให้น้องๆ ได้ร่วมแชร์มากขึ้น ดีมากๆ ครับ ส่วนของผมหลังจากจบบรรยายแล้วคิดว่าจะหาโอกาสไปเจอน้องอีกแน่ๆ ครับ
เนื้อหาการบรรยาย ผมบอกเล่าถึงปัญหาของการออกแบบทุกสิ่งอย่างในปัจจุบัน, พื้นที่สาธารณะ ถนนหนทาง สะพานลอย ระบบขนส่งสาธารณะ อาคาร สถานที่ต่างๆ ที่ยังเข้าถึงไม่ได้ ปัญหาการเข้าถึงที่ยังไม่เท่าเทียม ส่งผลให้คนพิการในประเทศไทยพัฒนาตัวเองได้อย่างยากลำบาก การออกแบบในแนวคิดที่คำนึงถึงทุกคนจะแก้ไขปัญหา เปลี่ยนโลกได้ ความหวังผมคือน้องๆ คนรุ่นใหม่เหล่านี้
น้องๆ นักศึกษาพิการน่ารักมากๆ ร่วมแชร์และช่วยให้ความรู้ พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน สนุกใช้ได้เลย
ขอบคุณ:
– คณะอาจารย์วิชา Inclusive Design (อ. เรเนโต้, อ. วิว, อ. มิน) DBTM, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ศูนย์บริการคนพิการ ของมหาวิทยาลัยที่ช่วยประสาน, และน้องๆ นักศึกษาพิการที่เข้ามาร่วมแชร์
– ขอบคุณน้องซัน+น้องออมจากโรงเรียนสาธิตปทุมวัน, น้องเอวาจากโรงเรียนมาแตร์ฯ ที่มาช่วยงาน
– ขอบคุณน้ารุจ-ช่างภาพที่ไปช่วยงานผมตลอด ผมให้ค่าแรงได้แบบงานกุศลตลอดครับ
งานดีๆ แบบนี้เกิดขึ้นได้เพราะความร่วมมือช่วยกัน เราสร้างโลกใหม่ได้อย่างแน่นอน ทุกคนเยี่ยมมากๆ ครับ
งานบรรยายให้กับ DBTM รวมอยู่ตามลิงค์นี้ครับ https://www.accessibilityisfreedom.org/tag/DBTM/
[พี่ซาบะกำลังคุยกับน้องๆ นศ พิการสายตา]
[น้อง นศ นักออกแบบรุ่นใหม่ กำลังแชร์ประสบการณ์จากตอนเช้า]
[น้อง นศ สายตากำลังสาธิตการใช้งานโทรศัพท์]
[น้อง นศ สาธิตการใช้เท้าเขียนแทนการใช้มือ]
[ซัน, เอวา, ออม มาช่วยงาน มาร่วมกิจกรรมต่อเนื่อง แก๊งค์นี้น่ารักที่ซู๊ดดด]
[น้อง นศ ทั้งหมด 80 คน+ ต้องนั่งห่างกันใช้ 3 ห้องเพราะโควิด]