ออกแบบโลกใบใหม่ NEW WORLD DESIGN (Inclusive Design / DBTM / TU / 2023)

ภาพ ถ่ายภาพรวมกันที่ DSS

12 กันยายน 2566

ทุกๆ ปีเรามีงานที่ต้องไปคุยกับน้องๆ กลุ่มนักออกแบบรุ่นใหม่ ปีนี้เด็กๆ ร่วม 90คน ในวิชา การออกแบบที่ต้องคำนึงถึงคนทุกกลุ่ม (Inclusive Design), ส่วนของเราพุ่งประเด็นไปที่การเข้าใจ เห็นออกเห็นใจ(Empathy) ไม่ใช่มัวแต่คอยสงสาร เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่นักออกแบบต้องคุยกับผู้ใช้ เพื่อให้ได้ข้อมูลตั้งต้น…

ช่วงเช้า: เด็กๆ ทดลองเป็นคนพิการ บางส่วนปิดตา, บางส่วนโดนจับมัดแขน ขา แม้จะไม่กี่ชั่วโมงแต่อย่างน้อยก็สัมผัสได้ เข้าใจว่าเมื่อร่างกายเปลี่ยนไป เป็นยังไง รู้สึกยังไง
ช่วงบ่าย: เป็นการบรรยาย ให้ข้อมูล แน่นอน เราเริ่มจากการฟังเสียงของน้องๆ ที่ได้ทดลองเป็นคนพิการ ผมนั่งฟังน้องๆ เล่าให้ฟังอย่างมีความสุข…

ปีนี้เช่นเดิมคุณก๊อฟจาก Disability Support Services Center มาช่วยให้ข้อมูลในส่วนของศูนย์ช่วยเหลือและให้ยืมรถเข็น เด็กๆ ทดลองใช้, และเรามีน้อง Beckham, น้อง Rose และน้องไข่ (กลุ่มสายตา) และน้องมาย น้องโมเดล (กลุ่มเคลื่อนไหว) มาร่วมบรรยาย ให้ข้อมูลในแง่มุมของการดำเนินชีวิต การเรียน ความเป็นอยู่ มีการสาธิตการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น นักออกแบบรุ่นใหม่ ฮือฮา ตื่นเต้นมาก ถามคำถามอย่างสนุกสนาน ย้ำ สนุกมากครับ

ส่วนงานของผมคือสรุปภาพรวม มองภาพที่กว้างขึ้น มองถึงความเท่าเทียมในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเข้าถึงพื้นที่เมือง, ระบบขนส่งสาธารณะ หรือแม้แต่ความคิดของคนในสังคม ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกอย่างเกี่ยวข้องกันทั้งหมด
ทุกๆ ปีผมจะใช้ข้อมูลจากการทำงาน เลือกประเด็นที่น่าสนใจมาให้เด็กๆ คนรุ่นใหม่เหล่านี้ได้รับรู้, เมืองที่ผมเรียกว่า War Zone, ระบบขนส่งสาธารณะทั้งภายภาพและการให้บริการ แน่นอนสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวเรา คือ ผลิตภัณฑ์ที่แรกๆ ถูกสร้างโดยแทบยังไม่คำนึงถึงคนทุกกลุ่ม และยังคงเกิดปัญหาแบบนี้ให้เราเห็นทุกวัน…

ผมตบท้ายการพูดด้วยการท้าทายเด็กๆ ว่า ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ สำหรับส่งอาจารย์ปีนี้ อะไรดีหมด แต่ถ้าใครออกแบบอะไรที่น่าสนใจ เกี่ยวข้องกับชีวิตคน เช่น ความปลอดภัย การเข้าถึงส่วนสำคัญๆ ผมมีคะแนนเท่าไหร่ เทให้ไม่มีกั๊กเลย

อย่างน้อย 7ปี x 7รุ่น เราได้นักศึกษาที่มองเห็นคนทุกกลุ่ม กว่า 700 คนแล้วครับ
สิ่งที่ผมเห็นวันนี้ เด็กซนๆ มีความสนุกสนาน มีความน่ารักกันทุกคน และพรุ่งนี้ เขาจะเป็นพลังสร้างการเปลี่ยนแปลง
เมื่อน้องๆ เหล่านี้เติบโต เป็นคนทำงาน เป็นผู้บริหาร เป็นผู้นำชุมชน หรือแม้แต่เป็นผู้นำประเทศ บ้านเมืองของเราจะเปลี่ยนไปอย่างแน่นอนครับ

ขอบคุณ คณะผู้บริหารและอาจารย์ภาควิชา Inclusive Design และน้องๆ ทีมผู้ช่วยอาจารย์, ผู้บริหารคณะสถาปัตยกรรม และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิตที่ให้ความสำคัญกับประเด็นตลอดมา
ขอบคุณภาพสวยๆ จาก “น้ารุจ” ที่มาช่วย, ช่างภาพของ APTU เรามีภาพสวยๆ ทุกปีครับ

มันไม่ใช่เพียงแค่เป็นเรื่องของคนพิการ การแก้ไขปัญหาอย่างยังยืน คือ การให้ความรู้ โลกใบใหม่เกิดขึ้นได้แน่นอนครับ

 

ภาพ อาจารย์เรเนโต้ กำลังแจ้งข้อมูลกับนักศึกษา

ภาพ อาจารย์เรเนโต้ กำลังช่วย มัดขาเด็กๆ นักศึกษา

ภาพ พี่ซาบะกำลังดูเด็กๆ ที่กำลังเตรียมตัวปิดตา มัดแขน มัดขา

 

ภาพ นศ ทดลองเป็นคนพิการ กำลังใช้งานกระเบื้องนำทางคนตาบอด

ภาพ นศ ทดลองเป็นคนพิการ บนทางเท้า

ภาพ นศ ทดลองเป็นคนพิการ ตาบอด มัดแขน

ภาพ นศ ทดลองเป็นคนพิการ

ภาพ นศ ทดลองเป็นคนพิการ กำลังใช้งานกระเบื้องนำทางคนตาบอด

ภาพ นศ ทดลองเป็นคนพิการ นศ กำลังช่วยกันมัดร่างกาย

ภาพ นศ ทดลองเป็นคนพิการ

ภาพ นศ ทดลองเป็นคนพิการ กำลังข้ามทางม้าลาย

ภาพ นศ ทดลองเป็นคนพิการ

ภาพ นศ ทดลองเป็นคนพิการ กำลังลองทานอาหาร

 

ภาพ อาจารย์นุ้ยกำลังดูแลเด็กๆ ขณะฟังบรรยาย

 

ภาพ พี่ซาบะกำลังถือไมค์บบรรยาย

 

ภาพ น้องเบคแฮมกำลังบรรยาย

ภาพ ผู้บรรยายนั่งเก้าอี้เรียงแถวกัน คุณโรสถือไมค์ กำลังบรรยาย

ภาพ น้องไข่กำลังบรรยาย

ภาพ น้องมายกำลังบรรยาย

ภาพ น้องโมเดลกำลังสาธิตการใช้เท้า ใช้งาน ipad

ภาพ คุณก๊อล์ฟกำลังบรรยาย

 

ภาพ อาจารย์นุ้ยกำลังดูแลเด็กๆ ขณะฟังบรรยาย

ภาพ อาจารย์เรโนโต้กำลังพูดกับเด็กๆ ในห้องบรรยาย

 

ภาพ presentation slide คนทุกกลุ่ม  ]\

ภาพ presentation slide พี่ซาบะกำลังเข็นรถ เสาไฟกลางทางเท้า

ภาพ presentation slide แบนเนอร์เมืองของวันพรุ่งนี้

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]