สำรวจ SIAMSCAPE

ภาพ ทางเข้าด้านหน้าอาคารสยามสเคป

วันเดียวที่เดิน Chula Walk ครับ ระหว่างทางแวะเข้าไปดูห้างสยามสเคป ดูกันแบบด่วนๆ ไม่ได้ลงรายละเอียด
เอามาฝากกัน 2 จุดครับ

ทางเข้าอาคาร
(1) ทางเดินเข้าอาคาร ช่องกลางเป็นบันได
(2.1) (2.2) ทางเดินเข้าอาคาร ซ้าย+ขวา เป็นทางลาด มีกำแพงกั้น
ขอยกเรื่องงานการออกแบบ ความสวยงาม ชอบไม่ชอบออกไป เพราะต่างคนต่างชอบไม่เหมือนกัน
แต่สิ่งที่ผมรู้สึกได้ชัดเจนมากที่สุด คือ ความอึดอัด ทั้งสีที่เป็น theme ของห้าง คือ โทนดำ มืด ทึบ
ทางลาดซ้ายขวาที่มีกำแพงสูง หนา กั้นระหว่างทางเดินช่องกลางที่เป็นบันได (1) (2.1) (2.2)

ทางเข้าตรงนี้ควรเป็น “ทางลาดตลอดทั้งหน้า” ทุกคนล้วนสะดวก เปิดพื้นที่มากขึ้น หายใจโล่งขึ้นครับ

 

ห้องน้ำ
ความกว้างไม่มากนัก พื้นเป็บกระเบื้องเงา วาว เกรดดี (ไม่ได้ลองว่า น้ำหก-ลื่นมั้ย)

(1) พื้นหน้าโถส้วม-ความกว้าง
รถเข็นผมหมุนรอบตัวได้สบาย วัดจริงๆ เส้นผ่าศูนย์กลางน่าจะเกิน 1 เมตรนิดๆ แต่หากกว้างกว่านี้จะดีมากครับ

(2) ราวจับ
เป็นแบบรุ่นแรกๆ ที่ผลิตมาใช้ให้พับได้ ราวจับแบบนี้เป็นแบบพับแนวนอน, แต่จะพับได้ต้องเอามืออีกข้างไปปลดล๊อคไม่สะดวกมาก โดยเฉพาะคนที่มืออีกข้างไม่แข็งแรง และรุ่นนี้พบตลอดว่าการยึดราวจับไม่แข็งแรง ที่นี่ก็เช่นกัน, จุดที่วางตัวเลขไว้ จริงๆ ควรเป็นแบบพับในแนวดิ่ง

(3) กระจก
เกือบดีครับ ระดับความสูงผมมองเห็นแค่หัว แก้ไขไม่ยาก ติดกระจกแบบเอียงครับ

(4) โถส้วม
ไม่มีพนักพิงหลัง และปุ่มกดไม่สะดวก โถส้วมแบบมาตรฐานที่ไทยใช้ 90% เป็นแบบนี้หมด
ดีที่สุดใช้แบบที่เป็นแป้นกดด้านข้างครับ

(5) ปุ่มขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน
อยู่ในตำแหน่งที่การใช้งานจริงไม่ควรสะดวก ปุ่มกดขอความช่วยเหลือที่ห้อยลงมาอยู่ในระดับที่ห่างจากพื้นเกินไป
ให้นึกถึงคนผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุล้ม เป็นลม อะไรแบบนั้น และแนะนำให้ติดเพิ่มอีกซัก 2 จุด ไม่ได้ทดสอบกดนะครับ

(6) ราวจับ
คิดว่า ต้องตรวจสอบความห่างจากโถส้วม ไปคราวหน้าจะวัดระยะครับ

(7) ตัวล๊อคประตูด้านใน
ผิดแบบครับ ต้องเป็นแบบก้านปัด

(8) ควรเพิ่มเตียงพยาบาล/เปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก/ผู้ใหญ่ที่ต้องเปลี่ยนแพมเพิสครับ
ใช้แบบพับได้ก็ได้ครับ

ยังมีจุดยิบย่อยอีกเช่น ที่ห้อยสัมภาระที่ควรต้องมี

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]