รีวิวรถไฟฟ้าสายสีทอง ห้องน้ำ

รีวิวห้องน้ำบ้าง รถไฟฟ้า BTS สายสีทอง ทั้ง 3 สถานี สร้างห้องน้ำเหมือนๆ กัน, ขออนุญาติเรียกว่า เป็นมาตรฐานห้องน้ำแบบไทยๆ ออกตัวว่าแค่ไปดู ไม่ได้ถึงกับวัดระยะอย่างละเอียดนะครับ

ผมให้สีไว้เพื่อให้แยกประเด็นได้ง่าย
[สีแดง] ไม่ผ่านกฏกระทรวงว่าด้วยการกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน
[สีเหลืองส้ม] คือ สงสัย-อาจจะต้องตรวจสอบเพิ่ม หรือมีคำแนะนำ

1. โลโก้บนพื้น ไม่จำเป็นต้องมี (แนะนำ)
สัญลักษณ์ที่ประตูเพียงพอ เหลือเฟือ ไม่จำเป็นต้องตอกย้ำครับ

2. การใช้คำ (แนะนำ)
จริงๆ แล้วแค่สัญลักษณ์รถเข็น ถือว่าพอเพียงครับ แต่หากต้องการเขียนกำกับก็ไม่ถือว่าหนักหนา
ภาษาอังกฤษ “Disabled Toilet” คำว่า disabled ไม่ควรนำมาใช้ เพราะเป็นคำด้านลบ เหมาะสมที่สุดคือ Accessible Toilet
ภาษาไทย “ห้องน้ำคนพิการ” ถือเป็นคำที่ใช้กันทั่วไป ผมเฉยๆ ครับ

3. กระจก สูงเกินไป (ผิด)
ต้องลดระดับต่ำกว่านี้ และติดตั้งเอียง (สังเกตุเส้นประแดงที่ผมทำไว้ให้เพื่อวัดระดับระดับความสูงคนนั่งรถเข็น)

4. ราวจับอ่างล้างหน้า(แนะนำ) ไม่สะดวก (แนะนำ)
เป็นแบบที่ใช้ในมาตรฐานห้องน้ำรุ่นแรกๆ ราวจับแบบนี้ รถเข็นใช้ไม่สะดวก กลายเป็นเครื่องกีดขวางเสียเอง

5. ราวจับข้างโถส้วม ไม่มี (ผิด)

6. เบาะพิงหลัง ไม่มี (ผิด)

7. ปุ่มขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน (แนะนำ)
ทุกๆ ครั้งผมจะแนะนำให้ติดมากกว่า 1 จุดเสมอ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ขอความช่วยเหลือมากขึ้นครับ

8. ถังขยะ เป็นแบบเหยียบเพื่อเปิดฝา (ผิด)
ผมใช้เท้าเหยียบไม่ได้ครับ

 

อ้างอิง:
– กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา (ฉบับที่ 2) 2564 https://drive.google.com/file/d/1FPTHqkYUbHUGekzUYaE7sKkTauQEPtIk/
– กฏกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร สำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 https://drive.google.com/file/d/1mIwx0j_EL62LIvWFf44JcwQ8NnYOiiaT/

 

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]