ปัญหาคนพิการเดินทางด้วยสายการบิน ตอน : คำแนะนำจาก IATA เกี่ยวกับ ‘วัตถุอันตราย’ (DGR)

 

ปัญหาการบินมีปัญหาเกิดขึ้นบ่อยๆ ไม่ว่าจะที่ไหนๆ และบ้านเราเกิดขึ้นบ่อยมาก
เจ้าหน้าที่รัฐฯ ยันสายการบิน ไม่มีการดำเนินงานใดๆ ที่จะทำให้แก้ไขปัญหาได้  เป็นเวลาเกิน 2 ปีแล้ว

เติมความรู้ให้กับทั้งผู้บริโภคและผู้ให้บริการก็เป็นการแก้ปัญได้ในส่วนหนึ่ง
เรามาดูเรื่องกฏหมายและกฏข้อบังคับในการเดินทางด้วยสาการบินกันหน่อยครับ

IATA (International Air Transport Association) หนึ่งในผู้ดูแลและคุมกฏการบินทั่วโลก
ที่หน้าเวปของ IATA มีเอกสารแนะนำลักษณะถาม & ตอบ เกี่ยวกับสิ่งของที่ถือเป็น ‘วัตถุอันตราย’
ที่เกี่ยวกับรถเข็นไฟฟ้า ตามลิงค์ https://goo.gl/wwqgko แปลเป็นไทยได้ดังนี้ครับ:

ถาม:

คนพิการและต้องการเดินทางพร้อมกับรถเข็นไฟฟ้าได้หรือไม่?

ตอบ:

ได้, แบตฯ แต่ละประเภทจะมีขั้นตอนการจัดการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของแบตฯ ที่ใช้
ชนิดที่ทันสมัยที่สุดใช้ เจลซึ่งถือได้ว่า ‘ไม่ถือเป็นวัตถุเป็นอันตราย’ และ ‘สามารถนำขึ้นเครื่องพร้อมกับสัมภาระได้โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ’

แบตฯแบบเก่า “แบบเปียก” จะต้องจัดการ ตัดการเชื่อมต่อและอาจจะต้องถอดออกจากรถเข็น พร้อมกับเก็บในกล่องเก็บสำภาระพิเศษ

แบตฯ ประเภทลิเธียม มีข้อกำหนดเพิ่มเติมโปรดตรวจสอบกับผู้ผลิต/ผู้จัดจำหน่าย เพื่อเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ให้ติดต่อกับสายการบินเพื่อวางแผนก่อนการเดินทาง

– – –

เอาล่ะแล้วมาดูกันหน่อยว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้มีใครบ้าง:

  1. คนพิการที่ต้องเดินทาง
  2. สายการบิน
  3. การท่าอากาศยาน
  4. สนง. การบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กรมการบินพลเรือนเก่า)
  5. กระทรวงคมนาคม
  6. IATA
  7. ICAO

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]