ร่วมทดสอบเรือไฟฟ้าคลองผดุงกรุงเกษม

ภาพ พี่ซาบะกำลังอธิบายจุดทำทางลาด

23 พฤจิกาจน 2563
สำนักการจราจรและขนส่งโทรมาแบบร้อนๆ ชวนไปร่วมทดลองใช้เรือไฟฟ้าที่คลองผดุงกรุงเกษม เราไปในนามองค์กร Accessibility Is Freedom (เข้าถึงและเท่าเทียม) และผู้แทนภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A) ครับ เป็นการทดสอบครั้งแรกและมีโอกาสสำรวจไม่ละเอียดนัก แยกเป็นเรื่องๆ เพื่อให้ง่ายต่อการแก้ไขปัญหา ตามนี้ครับ:

1. การเข้าถึงท่าเรือ ยังมีปัญหาครับ เช่น การเดินทางจากขนส่งสาธาณณะอื่นๆ เช่น ป้ายรถเมล์ มายังท่าเรือ ทางเท้าหน้าท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง ยังไม่มีทางลาด <<แนะนำ>>ร่วมกับหน่วยงานพื้นท่ีเร่งแก้ไขให้เกิดการเข้าถึงท่าเรืออย่างสมบูรณ์ครับ
2. ทางลาดเข้าท่าเรือ ท่าเรือหัวลำโพงและท่าเรือเทวราช จากระดับทางเท้ามีทางลาดขึ้นท่าเรือแล้ว
3. จากระดับทางเท้าลงท่าเรือ เป็นบันไดตอนนี้ต้องช่วยกันยก ซึ่งไม่ปลอดภัย <<แนะนำ>>สร้างทางลาดตามความยาวท่าเรือ มีพื้นที่ ทำได้สบายมาก
4. ท่าเรือ ปูนเสาปักพื้นใต้น้ำ ขนาดกว้างxยาว ประมาณ 4×10เมตร
5. ทางลาดจากท่าเรือลงไปโป๊ะ ตัวโป๊ะเป็นแบบขยับขึ้นลงตามระดับน้ำ มาตรฐานของการท่าดีครับ พื้นไม่ลื่น, ขนาดกว้างxยาว ประมาณ 4×7.5เมตร ตัวสะพานจะชันมาก/น้อยขึ้นอยู่กับระดับน้ำ ถ้าเป็นผู้ใช้ wheelchair ที่ไม่แข็งแรงต้องมีคนช่วยดูแล (อย่างไรก็ตาม การขึ้นลงโป๊ะและเรือ เป็นพื้นที่เสี่ยง เป็นช่วงที่ควรต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแล)
6. ระดับเรือจอดเทียบโป๊ะ มีความสูงเลื่อมกันประมาณ 1ฟุต ผู้ให้บริการมีทางลาดแบบพับได้ช่วย <<แนะนำ>>ชุดหน้า ออกแบบเรือ/โป๊ะดีๆ ให้พื้นเสมอกัน wheelchair จะขึ้น/ลงเรือได้ง่ายมาก
7. ลิฟท์ไฮโดรลิคในตัวเรือ เป็นแบบปั๊มเองเพื่อให้ wheelchair ลง/ขึ้นระดับพื้นเรือได้ ตอนปั้มยกขึ้นมันกระแทก <<แนะนำ>>ให้แก้ไขให้นิ่มแบบตอนลง
8. การรองรับ wheelchair และตำแหน่งนั่ง แบบเรือชุดนี้รถเข็นลงได้เพียง 1 คันและเคลื่อนตัวไปไหนไม่ได้ <<แนะนำ>>ให้ปรับเก้าอี้ ฝั่งซ้ายและขวา 2 แถวหลังให้เป็นแบบพับเก็บได้เมื่อต้องการใช้พื้นที่ คล้ายๆ รถเมล์ จะทำให้รถเข็นสามารถลงเรือได้มากกว่า 1 คน และยังสามารถขยันตำแหน่งได้ ทำให้คนเดินสะดวกขึ้น
9. สี่แยกวัดใจ อยากให้การท่าติดระบบสัญญาณไฟจราจรครับ คิดว่าใช้เหมือนบนถนนได้สบายๆ ครับ คลองบรรจบกันเป็น 4 แยก จะได้ไม่ต้อง ‘วัดใจ’ กัน
10. สภาพแวดล้อม น้ำไหลมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา วันนี้มีกลิ่นนิดๆ อยากให้ลุยพัฒนาคลอง, น้ำ, รักษาสภาพแวดล้อม เหมือนโครงการอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม เรือชุดนี้ถือว่าออกแบบได้ดีพอสมควรครับ เป็นเรือไฟฟ้า ไม่เหม็นควัน เงียบ การเดินทางดีงามมากมาย การเดือนทางจากท่าเรือหัวลำโพงไปท่าเรือเทวราชซึ่งเป็นท่าสุดท้าย สุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา วัดระยะทางคร่าวๆ ได้ 4.5 กิโลเมตร คุยกันเพลินๆ ใช้เวลาแป๊บเดียวเองครับ ข้อเสนอแนะของเราเพื่อให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ ‘ทุกคนเดินทางบนระบบขนส่งสาธารณะและการเชื่อมต่อได้อย่างสะดวก ปลอดภัย เท่าเทียมกัน’ และสำคัญที่สุด ต้อง “WOW” ครับ เพื่อให้ผู้โดยสาร นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ใหม่ ที่ไม่เหมือนที่ไหน รับรองนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับไปชื่นชมแน่นอน

เดี๋ยวเราจับมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลุยแก้ไขปัญหากันครับ
กราบขอบพระคุณสำนักการจราจรและขนส่ง(สจส), กรุงเทพธนาคมและกรุงเทพมหานครเป็นอย่างสูงครับ

ภาพ เรือไฟฟ้าจอดนิ่งๆ อยู่ในคลอง

ภาพ เรือไฟฟ้าหลายลำ จอดนิ่งๆ อยู่ในคลอง

ภาพ จากทางเท้าลงท่าเรือที่ยังเป็นบันได

ภาพ ท่าเรือมองจากฝั่งตรงข้าม

ภาพ พี่ซาบะกำลังร่วมคณะเดินไปท่าเรือเทเวศ

ภาพ พี่ซาบะกำลังเข็นรถลงทางลาดจากท่าเรือไปโป๊ะ

ภาพ พี่ซาบะนั่งอยู่บนแท่นไฮโดรลิกที่ใช้ยกรถเข็นขึ้น/ลง

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]