ทดลองใช้ทางข้ามฟากระดับเสมอราง / รถไฟทางคู่ / สถานีสวนสนประดิพัทธ์ / รฟท




14 กันยายน 2565

เป้าหมายหลักที่ผมและคณะต้องการไปทดสอบด้วยตัวเอง เพื่อยืนยันว่า การข้ามฟากชานชาลาโดยทางข้ามฟากระดับเสมอรางที่ รฟท. จัดให้นั้น เป็นอย่างไรบ้าง

พี่อู๊ด ที่เป็นทั้งหนึ่งในคณะที่ปรึกษาฝ่ายกฏหมายและเป็นผู้ใช้ตรง มีปัญหา กล้ามเนื้ออ่อนแรงและต้องมานั่งรถเข็นภายหลัง พี่อู๊ดมือ แขน กล้ามเนื้อส่วนบนและขาไม่แข็งแรงมากนัก, จะเห็นว่า การข้ามฟากโดยใช้ทางข้ามระดับเสมอรางเป็นเรื่องยากลำบากไม่น้อย เหตุการณ์จริงใช้เวลาเกินกว่า 2นาที

เพราะปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง พี่อู๊ดใช้รถเข็นได้ไม่คล่องตัวนัก การข้ามสิ่งกีดขวางแบบนี้ต้องใช้วิธีถอยหลังค่อยๆ ข้าม ยังดีที่ขาพอมีแรงช่วยดันได้อีกหน่อยจะเห็นว่า การข้ามฟากโดยใช้ทางข้ามระดับเสมอรางเป็นเรื่องยากลำบากไม่น้อย เหตุการณ์จริงใช้เวลาเกินกว่า 2นาทีครับ

ให้นึกถึงรถไฟที่วิ่งมา ด้วยความเร็วขบวนด่วน วิ่งผ่านสถานีแบบไม่ลดความเร็ว มากกว่า 100กิโลเมตรต่อชั่วโมง เร็วแค่ไหนอยากเล่าให้ฟัง ขณะที่กำลังคุยกันในอาคาร เราได้ยินเสียงวู๊ด, หายใจเข้าและออก รถไฟวิ่งผ่านสถานีแล้ว

ให้นึกถึง คุณยายใช้ไม้เท้ากระหย่องกระแหย่ง งกๆ เงิ่นๆ เดินเหินไม่คล่อง ให้นึกถึงพ่อ แม่ ตา ยา เราที่เดินไม่ค่อยไหวแล้วครับ

รฟท. ตอบและยืนยันตลอดเวลา “การสร้างสะพานลอยข้ามฟากและลิฟท์ สถานีขนาดกลางและขนาดเล็กมีผู้โดยสารน้อยนิด ไม่คุ้มค่า”

คำตอบนี้ คือ “การละเมิดสิทธิมนุษยชน” ชัดเจน

ผมขอประกาศ “ชวน ผู้ว่าการ รฟท, รมว คมนาคม, คนออกแบบ คนสร้างและผู้บริหารสูงสุด ไปลองใช้เข็นรถข้ามด้วยตัวเอง” ไปกันแบบชาวบ้านๆ ห้ามมีอะไรพิเศษ รอให้ถึงช่วงเวลารถไฟวิ่งมา แล้วข้ามด้วยกันครับ เดี๋ยวผมไปด้วย

#ปัญหารถไฟทางคู่

ปัญหานี้ ผมต่อสู้มากว่า 2 ปีแล้ว ยังไม่มีใครฟังครับ https://www.accessibilityisfreedom.org/การเข้าถึง-สถานีรถไฟ-ชุมทางบัวใหญ่/

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]