ChulaWalk/2 เดินไป ม. จุฬาฯ : เส้นทางที่อันตราย

ภาพ คณะสำรวจกำลังเดินเลาะพื้นที่เกาะกลาง ใช้พื้นที่ถนน

ภาพจากวันงาน ChulaWalk เมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา
ChulaWalk เป็นโครงการของน้องๆ นิสิต ที่จะช่วยกันเดินสำรวจมหาวิทยาลัยของตัวเอง
โจทย์คือหาคำตอบว่า “เดินไปมหาลัย สะดวก ปลอดภัย ทุกคนเดินไปได้ปะ?”

พื้นที่ในมหาวิทยาลัยสำคัญมาก แต่พื้นที่รอบๆ มหาวิทยาลัยก็สำคัญไม่แพ้กัน ครั้งนี้เป็นการเดินครั้งที่ 3 ของโครงการ, เราเริ่มจากพื้นที่รอบๆ มหาวิทยาลัย น้องๆ เลือกการเดินทางจากห้างสามย่านมิตรทาวน์ แล้วเดินกันไป…

การเดินทางครั้งนี้ เรามีกลุ่มคนดังนี้:
1. กลุ่มคนที่สมบูรณ์แข็งแรง
2. กลุ่มคนที่มองไม่เห็น
3. และกลุ่มคนที่นั่งรถเข็น

เส้นทางให้ดูตามผัง การเดินปัญหาตามนี้ครับ:
1. ทางม้าลายและระบบช่วยเหลือการข้ามถนน = ต้องปรับปรุง
ยังไม่ปลอดภัย ยังใช้ไม่ได้ทุกคน ไฟสัญญาณจราจรยังเป็นแบบเก่า ไม่มีเสียงสำหรับคนตาบอด
2. ทางลาด = ไม่ถูกต้อง
เมื่อตอนผมไปร่วมพัฒนาแยกอโศก ผมเรียกว่า “ทางลาดใจแคบ”
ให้มองดูทางม้าลายสีแดงๆ กว้างงงง งง มากก ก ก ก กก ก ก ก  ทำทางลาดแคบนิดเดียว แถมยังสร้างผิดอีกพื้นทางขึ้นไม่เรียบ
เดี๋ยวคราวหน้าจับคนสร้างมาเข็นรถขึ้นกันดูหน่อยนะ
เพราะทุกคนมองเห็นแค่ว่า “ทำให้คนพิการ” ซึ่งเข้าใจผิดแล้ว ผิดมาก, ทำทางลาดตลอดหน้า ทุกคนใช้ได้ สะดวกสบายครับ
3. เกาะกลางถนน (จุด 1 และ 2) = ต้องแก้ไข
มีทางลาดสำหรับกลุ่มคนที่ใช้รถเข็นแต่ไม่ครบถ้วน พื้นพังหมดแล้ว ต้นไม้ไม่ได้รับการดูแล
4. ทางเท้า = ต้องแก้ไข
ตลอดแนว มีสภาพดีบ้าง ไม่ดีบ้าง บางจุดพื้นเอียง เทลงถนน ไม่มีทางเดินคนตาบอด
มีสิ่งกีดขวาง เช่น เสาไฟ ป้าย ต้นไม้ ตู้สื่อสาร ฝาท่อ ฯลฯ กีดขวางทางเดินตลอดแนว และส่วนใหญ่มีสภาพทรุดโทรมต้องซ่อม
5. ทางข้าม ตรอก ซอย = อันตราย
เช่น จุด 4 เป็นถนนข้างอาคารจามจุรีสแควร์ ไม่มีระบบช่วยข้ามอย่างปลอดภัย ทุกคนข้ามกันแบบลุ้นกันเอง
6. สะพานลอย = บางคนใช้ไม่ได้
สะพานลอย หนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกที่ประเทศไทยชอบใช้
สะพานลอยมีประโยชน์แน่นอน แต่การออกแบบนั้นมีปัญหา:
– กลุ่มคนที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ใช้รถเข็น ข้ามไม่ได้
– บันไดลง กินพื้นที่บนทางเท้าเกิน 50%
7. อุโมงทางลอดข้ามถนน = ไม่ปลอดภัย อีกหลายคนใช้ไม่ได้
มีโอกาสได้แวะไปดู ถูกสร้างมานานแล้ว สภาพคือเป็นบันได

การเดินทางไปจุฬาฯ มีทางเลือกหลายๆ ทาง ทุกทางกลุ่มคนที่มีปัญหายังเดินทางไม่ได้
ทุกทางเลือก เสี่ยงและอันตราย หนักสุด เดินทางไม่ได้
คนที่เดือดร้อน มากน้อย ต่างกัน ตามศักยภาพของร่างกาย

เราเดินกัน เพื่อตัวอย่างสะท้อนให้เห็นว่า พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เป็นอย่างไร
ข้อมูลเหล่านี้นำมาเป็นตัวอย่าง หาทางแก้ไข โดยต้องฟังเสียงทุกคน วิเคราะห์ข้อมูลรอบด้าน
และสำคัญมาก เราอยากเห็นการดำเนินงานอย่างโปร่งใส ทุกคนตรวจสอบได้
นโยบายของท่านผู้ว่าชัชชาติชัดเจน

ผมจะรายงานเข้าระบบ เพื่อให้สามารถติดตามปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม
สำหรับทีมข้าราชการประจำ ผมแค่อยากบอกว่า หมดเวลาพักแล้ว
ผมจะช่วยผลักดันให้ทุกท่านได้ทำงานอย่างเข้มข้น ทำงาน-ทำงาน-ทำงานนะครับ

– – – – – – – – –
โครงการ CityWalk เราทำมาอย่างเข้มข้นตลอด 8ปี
ChulaWalk ต้องขอบคุณน้องๆ ทีมงานหลัก ที่เราได้เดินกันมาอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูล #ChulaWalk ทั้งหมดตาม hashtag ได้เลยครับ
เราจะช่วยกันขยายไปมหาวิทยาลัยอื่นด้วย เพราะเราอยากให้ทุกคนไปโรงเรียนได้ครับ
– – – – – – – – –

ภาพ เส้นทางเดิน จากยามย่านมิตรทาวน์ไป ม. จุฬา

 

ภาพ ทางม้าลายและทางข้ามที่แคบมาก

 

ภาพ เกาะกลางที่มีทางลาดแคบๆ ขึ้นได้ ลงไม่ได้ (อีกฝั่งไม่มีทางลาด)

 

ภาพ ทางลอดถนนเข้า ม. จุฬา

 

ภาพ ทางเท้าที่มีสภาพพัง

 

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]