รถไฟฟ้า จะกลายเป็นหายนะของประเทศไทย (หรือไม่?)

หลังจากผมเข้าไปร่วมทำงานกับภาคีเคลือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A)
เราได้ตะลุยทำงานกันอย่างหนักมาร่วมปีครึ่งกับระบบรางและสมาชิกหลายท่านทำงานมากว่า 20ปี

นี่คือภาพสรุป ที่แสดงถึงความบกพร่องของการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวก
บนระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร ที่จะเกิดขึ้นในอีก ไม่เกิน 6 ปีข้างหน้า

image2.002

จากตารางจะเห็นว่า:

  1. เรามีเพียง Airport Rail Link / ที่เพิ่งติดตั้งลิฟท์ทุกสถานีแล้วเสร็จ
  2. รถไฟฟ้า BTS + MRT ขึ้นได้/ลงได้ เพียงแค่บางจุด
    1. BTS หลังจากศาลสั่ง “ให้จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี”
      “เพียงแค่ ลิฟท์อย่างเดียว” นี่ก็ปีกับอีก 7 เดือนแล้วครับ ยังไม่แล้วเสร็จได้เลย
      บางสถานีคนพิการก็ต้องยอมเสี่ยงตาย ยอมใช้บันไดเลื่อนเพื่อขึ้น/ลง
      ที่มีโอกาจเกิดอุบัติเหตุสาหัสหรือเสียชีวิตได้ตลอดเวลา
    2. MRT ยังนอนหลับไหลไม่ยอมตื่น อยู่ใต้ดินจะแก้ไขอย่างไรดี?
  3. รถไฟฟ้าสายสีม่วง / จะเปิดใช้เดือนหน้า ยังมีปัญหา
  4. สายสีน้ำเงิน / ก่อสร้างได้ 79%
  5. สายสีเขียว / ก่อสร้างได้ 88% และผมมีข้อมูลเบื้องต้นว่า.. ทั้งหมดก็จะใช้แนวคิดเดียวกันนี้
  6. รถไฟระบบอื่นๆ ทั่วประเทศ / จะเป็นอย่างไรกันครับ? ….


ผลกระทบทั้งทางตรงและอ้อม:
จะเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นพิเศษอย่างแน่นอน
จากปัญหาการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ยังไม่พร้อม

คนพิการทุกประเภท ทั้งชั่วคราวและถาวร ผู้สูงอายุ ผู้หญิงใส่รองเท้าส้นสูง
คนท้อง ครอบครัวที่มีรถเข็นเด็ก นักท่องเที่ยวที่มีสัมภาระมาก
จะไม่ได้รับความสะดวก ที่หนักหนาที่สุด คือ
คนพิการบางประเภทจะไม่สามารถเดินทางได้
ซึ่งจะส่งผลให้เขาเหล่านี้ ไม่สามารถที่จะมีชีวิตอย่างเป็นปกติได้
แค่คนพิการกับผู้สูงอายุ ก็มีจำนวนมากกว่า 20% ของประชากรประเทศแล้วครับ

นี่เป็นคำพูดของผู้บริหารระดับสูงในของหน่วยงานของกระทรวงคมนาคมครับ:

  1. “ญี่ปุ่นยังมีทางเข้าออกไม่ครบเลย ไทยเพิ่งเริ่มต้นจะทำได้ยังไง?”
    >>ญี่ปุ่นเป็นเพียงประเทศที่ทำมาก่อนเรา
    >>เราไปดูเพื่อเรียนรู้ความผิดพลาดและนำข้อดีมาใช้
    >>ญี่ปุ่นไม่ได้ห้ามเราให้ทำดีกว่าเขา (ซักหน่อยนะครับท่าน…)

  2. “คุณรู้มั้ยต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่?”
    >>ข้อมูลจากสายสีม่วง หากติดตั้งลิฟท์และทางลาดให้ครบทั้งหมดทุกจุดทางเข้า/ออก
    >>จะใช้งบ “เพียงไม่เกิน 2%” ของโครงการ “เท่านั้น”
    (ข้อมูลสนับสนุนจากงานวิจัยจาก World Bankอ้างอิง: https://goo.gl/XPh6PA – ขอบคุณคุณสว่างครับ)

  3. “มันต้องทำทั้งระบบ…มันต้องวางแผน…จะเอาวันนี้เดี๋ยวนี้ได้ยังไง?”
    >>ประเทศไทยมีปัญหาสิ่งอำนวยความสะดวกทุกจุด
    >>หากรอทำพร้อมกัน ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้
    >>ดีที่สุด คือ ระบบใหม่ที่เกิดขึ้นต้องสมบูรณ์ตั้งแต่เริ่มต้น
    >>ระบบเก่าก็ค่อยๆ ไล่แก้กันไป
    >>สำคัญที่สุด คือ ต้องดูแลในภาพรวมทั้งโครงการให้ได้
    >>เพื่อให้เกิด “การเดินทางที่ไร้รอยต่อ” ให้สมบูรณ์ที่สุด

คำพูดเหล่านี้ เป็นเพียงแค่ปัญหาด้านความคิดแคบๆ เป็นแค่คำแก้ตัวของผู้บริหารบางท่าน
ที่ชอบพูดเสมอๆ และไม่ได้เห็นแก้ไข หรือปรับปรุงอะไรอย่างจริงจัง
ท่านทราบไหมครับว่าท่านทำความเสียหายเกิดขึ้นแล้วเท่าไหร่?

 

ถอดบทเรียนจากBTS:
การติดตั้งลิฟท์สำหรับคนพิการ บนระบบรถไฟฟ้า BTS
ที่ศาลปกครองสูงสุดได้สั่งให้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี
เพียงแค่ลิฟท์อย่างเดียว นี่ก็ผ่านไป 1 ปีกับอีก 7 เดือนแล้ว
เจอปัญหาร้อยแปดพันประการ จนเดี๋ยวนี้ โครงการยังไม่แล้วเสร็จเลย

เวลาผ่านไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีระบบการเดินรถไปถึง
แน่นอนบ้านเมือง ความเจริญ ความต้องการเพิ่มขึ้น
การขยายตัวของผังเมือง ระบบสาธารณูปโภค
ท่อน้ำประปา สายไฟฟ้า และการสื่อสารต่างๆ
รวมถึงการขยายตัวของจำนวนประชากรรอบๆ พื้นที่
ส่งผลให้การก่อสร้างแทบทำไม่ได้
ถึงแม้ทำได้ ก็ทำสมบูรณ์ได้ลำบาก เพราะมีปัญหาและข้อจำกัดมากมาย
ส่งผลให้สิ้นเปลืองเวลา และงบประมาณสูงกว่าทำตั้งแต่เริ่มต้นอย่างมาก
นี่เรียกได้ว่าทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศอีกหนึ่งอย่าง

เดินทางไม่ได้คือการปิดกันโอกาส:
นี่เป็นความเสียหายของประเทศ ในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์
ที่เราไม่สามารถที่จะประเมินมูลค่าได้

“ความเท่าเทียม” จะเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ประเทศไทย 4.0 จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ได้อย่างไร?
การพัฒนาและคนในสังคมจะเกิดความมั่นคงได้อย่างไร?
หากรัฐไม่แก้ปัญหาอย่างจริงจัง หากรัฐไม่รับฟังเสียงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างมีบูรณาการและด้วยความจริงใจ

“ด้อยโอกาส” เป็นคำที่สังคมใช้เรียกพวกเรา กลุ่มคนที่ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นพิเศษ
แต่แท้จริงแล้วสภาพแวะล้อมต่างหากที่ทำให้ด้อยโอกาส
กี่ชั่วอายุคนแล้วที่รัฐต้องจ่ายเงิน สิ้นเปลืองงบประมาณประเทศเพื่อช่วยเหลือ

ทำไมรัฐไม่เสริมสร้างโอกาส เพื่อให้เขาสามารถที่จะมีโอกาสพัฒนาตัวเองได้
เพื่อให้เขาเป็นประชาการที่มีคุณภาพของสังคม
สุดท้ายคนกลุ่มนี้ก็จะเป็นคนที่เสียภาษีให้รัฐได้
เป็นการแก้ปัญหาอย่างครบถ้วนกระบวนความ

“โอกาส” จะเกิดขึ้นได้เพียงแค่ให้เขาสามารถที่จะเดินทางได้อย่างมีอิสระ
สะดวก ปลอดภัย และเท่าเทียม ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่สำคัญในอันดับต้นๆ ของการพัฒนาคุณภาพของประชากรที่ต้องรีบแก้ไข
นี่เป็นสิ่งที่ต้องส่งเสริมและสำคัญยิ่งกว่าการช่วยเหลือ

ผู้เชี่ยวชาญเรามีมากมาย:
เราทุ่มงบประมาณใช้กับการศึกษาในโครงการต่างๆ มาไม่รู้เท่าไหร่
ไม่ต้องมีโครงการนำร่อง ไม่ต้องทดลอง คำตอบมีให้ท่านหมดแล้ว ทำได้เลยวันนี้
ฝั่งคนที่มีผลประโยชน์ได้เสีย คนพิการทุกประเภทรอ พร้อมช่วยให้ข้อมูลมานานแล้วครับ 

ภาคีเคลือข่ายเรามีโอกาสได้พบท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 2 ครั้งแล้ว:
ขอ “ตะโกนดังๆ” ไปถึงท่าน ท่านรัฐมนตรีอาคม ครับ จากการที่ได้มีโอกาสประชุมกับท่าน
ท่านเป็นคนน่ารักมากๆ ครับ ผมเชื่อมั่นว่า ท่านเข้าใจถึงสิทธิ ความเท่าเทียม อย่างแท้จริง
และท่านทราบเป็นอย่างดีว่า การเดินทางนั้นคือเรื่องจำเป็นอันดับต้นๆ ของการพัฒนาคุณภาพประชากรและประเทศ

นี่ผมก็นั่งนับวัน รอเวลา ที่จะได้พบท่านอีก
[tminus t=”15-01-2016 23:59:59″ launchtarget=”countup” omitweeks=”true”/] ขอเรียนท่านว่า เรื่องต่างๆ ก็ยังไม่ขยับไปถึงไหน รถไฟฟ้าสายสีม่วงจะเปิดใช้แล้วเดือนหน้าครับ

Metro Train System OV#1
ปัญหานี้จะไม่มีทางแก้ไขได้ หากไม่จัดการอย่างเร่งด่วน
หาไม่แล้ว นี่จะกลายเป็นหายนะของประเทศไทย ที่ประเมินมูลค่าเสียหายไม่ได้
ทั้งในด้านสิ่งปลูกสร้างและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร
และปัญหานี้ก็จะคงอยู่อีกไปอีกนานหลายชั่วอายุคน!

/ซาบะ
Accessibility Is Freedom

images.014
Metro Train System OV#2

Metro Train System OV#3

หมายเหตุ: ปรับปรุงบทความล่าสุด 19/07/2016 11am

 

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]