ภาคีภาคประชาชนร่วมประชุมกับ รฟท. หารือข้อกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวก โครงการรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน

22 ธันวาคม 2565

ภาคีภาคประชาชนประกอบด้วย T4A และ Accessibility Is Freedom รวมประชุมกับ รฟท หารือการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกฯ ก่อนการออกแบบรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน

1. สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานฯ
การเข้าถึงสถานี, ภายในสถานี เรามีกฏหมายต่างๆ ควบคุมอยู่ ทั้งนี้เป้าหมายเราคือจัดให้มีมาตรฐานสูงที่สุด, เราและ รฟท ได้ร่วมประชุม หารือกันมาหลายยกแล้ว ข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำมาใช้ในสายอื่นๆ รวมถึงรถไฟความเร็วสูงด้วยครับ

2. การข้ามฟากชานชาลา
เรายืนยันว่า การข้ามฝากชานชาลาโดยใช้ทางข้ามระดับเสมอรางเป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกใช้ ไม่ว่าจะมีอุปกรณ์ช่วยเหลือใดๆ เราต้องไม่ลืมว่า ***ทุกคนเสี่ยงอันตราย***
การสร้างระบบใหม่ๆ เราควรกำหนดมาตรฐานใหม่ ใช้การข้ามแบบสะพานลอยหรือการลอดแทน เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัย สะดวกสูงสุด
ข้อมูลยืนยันจาก รฟท สถานีขนาดใหญ่+กลาง จะมีสะพานลอยข้ามฟากและลิฟท์ ส่วนสถานีขนาดเล็กสายเหนือจะไม่มี ส่วนสายอีสานมี (เหตุผลคือ จำนวน ผดส น้อย)
ภายใต้แนวคิด “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ไม่ว่าจะ ผสด จำนวนมากหรือจะมีเพียงแค่คนเดียว รถไฟทางคู่จะอยู่กับเราไปอีกเป็น 100ปี ก็ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะไม่จัดให้มี สอส อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ได้
จากการออกแบบเดิม วางสะพานลอยข้ามฟากชานชาลา(และลิฟท์) ไว้ 2 ชุด คือ หัวและท้ายสถานี (ซึ่งอยู่ไกลมากกว่า 120m+-), ผมเสนอปรับแบบ ให้ลดเหลือชุดเดียว แล้วขยับตำแหน่งมาอยู่ใกล้กลางสถานีให้มากที่สุด หากทำแบบนี้ได้เราจะได้งบกลับมา 1เท่าตัว นำไปเติมสถานีที่ไม่มีได้สบายๆ

3. สายใต้ ช่วงหัวหิน-ประจวบฯ
ตามที่เราไปลงพื้นที่และได้เริ่มพูดคุยกัน ได้รับแจ้งว่า กำลังปรับปรุง 1 สถานี เมื่อพร้อมเราจะไปดูด้วยกันครับ

4. Skywalk แยกหลักสี่ รถไฟฟ้าสายสีแดง / มีบันได 1 จุด เชื่อมต่อสะพานลอยเข้า IT SQUARE
ได้รับแจ้งว่า อยู่นอกเหนืองาน รฟท, เดี๋ยวเราหาแนวทางผลักดันต่อไป

5. สถานีดอนเมือง สายสีแดง ทางลาดชั่วคราว
ด้วยข้อจำกัดพื้นที่ด้านบนและด้านล่าง ผู้ออกแบบคำนวนแล้ว ทำได้ที่ความชัน 1:9, เราค่อนข้างกังวลความชัน แต่ชั่วคราวถือว่าพอไหว, เราขอให้ตรวจสอบ/แก้ไข พื้นผิวทางลาดที่ลื่น
และเราจะมีทางเชื่อมเข้าสถานบินดอนเมืองอีกจุดใกล้ๆ กันซึ่งไม่มีบันได และจะมีการปรับ เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงอีกครั้ง
หากทางเดินอยู่ไม่ไกลกัน ถือว่ารับได้ครับ สำหรับโครงการที่สร้างแล้วมีปัญหาและถือว่าร่วมกันหาทางแก้ไขอย่างดีที่สุดแล้ว

6. ตู้โดยสารเก่า
ผมย้ำข้อเสนออีกครั้ง ขอให้แก้ไขตู้โดยสารรุ่นเก่าให้เราใช้ได้ด้วย อย่างน้อย 1 ขบวนต้องมี 1 ตู้ที่เราใช้ได้ และเรายินดีเป็นอย่างมากที่จะร่วมกันทำงาน ออกแบบครับ
จากการร่วมพูดคุยหารือกันตลอดมา ผมเชื่อมั่นในนโยบายระดับผู้บริหาร รฟท ที่ต้องการยกระดับการคมนาคมของประเทศไทยให้เข้าสู่ยุคใหม่อย่างสูงที่สุดในทุกมิติ

เป้าหมายสั้นๆ ของเรา “ทุกคนต้องเดินทางได้ อย่างสะดวก ปลอดภัย เท่าๆ กัน”

ติดตามประเด็น รฟท ได้ตามโพสนี้ครับ https://www.accessibilityisfreedom.org/tag/รฟท/

ปล. ยังมีประเด็นที่ตกหล่นไป ที่ต้องเร่งคุยกันตามนี้ครับ:
10. สถานีกลางบางซื่อ / ทางลาด ที่ต้องสร้างกว้างๆ ทุกจุดทางเข้า-ออก
11. ห้องน้ำ คุณภาพไม่ผ่านกฏกระทรวง+คุณภาพการก่อสร้างต่ำมาก ทั้งที่สถานีกลางบางซื่อและทุกสถานีสายสีแดงครับ

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]