ประชุมติดตามการเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้า ครั้งที่ 2 สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ผู้แทนภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A), ผู้แทนสภาคนพิการ, ผู้แทนสมาคมคนพิการ, ผู้แทน Global Shapers Bangkok, น้องๆ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ ประกอบด้วยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง สาขาการออกแบบและพัฒนาชุมชนเมือง (รังสิต) และ น้องนักศึกษาจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สาขาวิชานโยบายสังคมและการพัฒนา (ท่าพระจันทร์) และคณะผู้แทนส่วนก่อสร้างระบบรถไฟฟ้า ประกอบด้วย รฟม และทีมรับเหมาก่อสร้าง

เราร่วมประชุมตรวจสอบความพร้อมและปัญหาการเข้าถึงระบบรถไฟฟ้า ‘ที่กำลังก่อสร้าง’ โดยการตรวจสอบแบบและแผนผังกายภาพถนน สรุปข้อมูลตามนี้ครับ:

สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานต่างๆ ภายในสถานี เช่น ห้องน้ำ, ลิฟท์จากชั้นจำหน่ายตั๋ว ถึง ชั้นชานชาลา ถือว่าพอเพียง(ในแง่ของจำนวน, ตำแหน่งและการจัดให้มี), Skywalk ไม่มีบันได ทั้งนี้ที่ต้องเข้มข้นตรวจสอบมากที่สุด คือ ‘การเข้าถึงสถานีจากพื้นดิน’ แยกเป็นระบบตามนี้ครับ

  1. สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 
    แบบรถเป็นแบบรางเดี่ยว (Monorail), ทั้งหมด 30 สถานี, ความยาวสถานีประมาณ 110m (ความยาวประมาณสถานี BTS โดยส่วนใหญ่)
    ประเมินการเข้าถึง ถือว่าทุกสถานีสามารถเข้าถึงได้ สัญจรฝั่งถนนเดียวกันได้ ไม่มีปัญหาการเข้าถึงจากพื้นดินขึ้นสถานี ‘เกือบทั้งหมด’ ใช้การติดตั้งลิฟท์และทางลาดมาตรฐาน 4:2 (ทางเข้าออก 4 จุด-ลิฟท์ 2 จุด)
    มีเพียงบางสถานีที่ใช้รูปแบบต่างออกไป เพราะกายภาพตำแหน่งสถานี ประกอบด้วย:

    1. สถานี PK14 หลักสี่ และสถานี PK16 วัดพระศรีฯ : ติดลิฟท์ 2:2 (ทางเข้าออก 2 จุด-ติดลิฟท์ให้ทั้ง 2 จุด)
    2. สถานี PK09 เมืองทอง : ติดลิฟท์ 2:1 (มี 2 ทางเข้าออก-ติดลิฟท์ ให้ 1 จุด) ลักษณะสถานีอยู่ข้างถนน การเข้าถึงทำได้-ไม่มีปัญหา
  2. สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
    แบบรถเป็นแบบรางเดี่ยว (Monorail), ทั้งหมด 23 สถานี, ความยาวสถานีประมาณ 110m (ความยาวประมาณสถานี BTS โดยส่วนใหญ่)
    ถนนลาดพร้าว-สำโรง กายภาพถนนค่อนข้างวุ่นวาย ได้รับแจ้งจาก รฟม ว่ามีปัญหาการเวณคืนที่ดินค่อนข้างมาก
    ประเมินการเข้าถึง ถือว่า ‘เกือบทุกสถานี’ ยังสามารถเข้าถึงได้ สัญจรฝั่งถนนเดียวกันได้ ไม่มีปัญหา
    มีหลายสถานีที่ต้องพิจารณา และลงพื้นที่จริงเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม ดังนี้:

    1. สถานี Y03 โชคชัย 4, ตรง 3 แยกโชคชัย 4 ทางเข้าออก#1 ที่เข้าถึงได้ลำบาก (ต้องตรวจสอบเพิ่ม:ติิดลิฟท์เพิ่ม หรือจัดการ ทางม้าลาย+สัญญาณไฟ)
    2. สถานี Y04 ลาดพร้าว 71 ลิฟท์ 4:2 แต่มี ทางเข้าออก#2 ที่อยู่เกาะ > ขอลิฟท์เพิ่ม 1 ตัว
    3. สถานี YL07 ลาดพร้าว 101 ลิฟท์ 4:2 แต่ต้องไปตรวจสอบ การเดินทาง ทางเข้าออก#2 > ทางเข้าออก#3
    4. สถานี YL10 ศรีกรีฑา มีิลิฟท์ 4:2 ขอลิฟท์เพิ่มที่ ทางเข้าออก#4 เพราะการเข้าถึงทำงานยากลำบาก
    5. สถานี YL12 กลันตัน มีลิฟท์ 4:3 / ทางเข้าออก#4 ควรติดลิฟท์แต่มีปัญหาเวณคืนที่ดิน มีพื้นที่นิดเดียวทำบันไดเลื่อน

ขอบคุณทีม รฟม และผู้รับเหมาที่ได้เตรียมข้อมูลส่วนที่เราต้องการดูมาไว้ให้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถประเมินกันได้อย่างรวดเร็ว 53 สถานีภายในไม่ถึง 5 ชั่วโมง!!
ทั้งนี้เราต้องลงพื้นที่ตรวจสอบเพิ่มเติมในสถานที่ที่ ‘คาดว่า’ มีปัญหาอีกครั้งครับ

ย้ำครับ การแก้ไขปัญหาบ้านเมืองจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและใช้งานได้จริง เมื่อเกิดการมีส่วนร่วมทั้งผู้สร้างและประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนได้เสียตั้งแต่ต้นจนจบโครงการ
โปรดติดตามการทำงานของพวกเราครับ!

 

อ้างอิง:

 

About saba

เราจะเป็น #หนึ่งพลัง ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม We will be THE ONE who change our country[มานิตย์ ซาบะ อินทร์พิมพ์][Manit Saba Intharapim][マニト・サバ・インサラピム]